โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในเขตตำบลกะลุวอ ประจำปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในเขตตำบลกะลุวอ ประจำปี 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L2490-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ |
วันที่อนุมัติ | 26 กันยายน 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2566 |
งบประมาณ | 56,068.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางซัลมา บือซา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 48 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน) | 48.00 | ||
2 | ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ในชุมชน โรงเรียนและสถานที่ราชการ (แห่ง) | 27.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ ในแต่ละปีมีผู้ป่วยและตายด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม รัฐบาลจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้นำปัญหาโรคไข้เลือดออกมากำหนดเป็นนโยบายในการดำเนินงานโดยมีการควบคุมโรคไข้เลือดออก รณรงค์ให้กำจัดยุงลายทุกๆ 7 วัน และมีการป้องกันและควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืนตามมาตรการ 5 ป 1 ข (ปิดฝาชนะที่มีน้ำขัง เปลี่ยนภาชนะรองรับน้ำทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติเป็นประจำ ขัดล้างภาชนะรองรับน้ำทุกสัปดาห์ ) โครงการไข้เลือดออกได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี แต่อัตราป่วยและอัตราตายก็ยังไม่ลดลงเท่าที่ควร จากข้อมูลผลการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของตำบลกะลุวอ ในปี พ.ศ. 2561-2566 พบว่ามีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นซึ่งแนวโน้มจะพบผู้ป่วยตลอดทั้งปี แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมายังไม่สามารถควบคุมและหยุดยั้งการระบาดของโรคได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคุมอย่างต่อเนื่องทุกปี จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น องค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ จึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือนและทุกหมู่บ้านในเขตตำบลกะลุวอ แนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างได้ผล คือการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากโรคไข้เลือดออก โดยการให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก รวมทั้งรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุก 7 วัน และร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคตามมาตรการ 5 ป 1 ข ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลกะลุวอ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ในเขตตำบลกะลุวอ ประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออกและเพื่อกำจัดยุงซึ่งเป็นเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคไข้เลือดออก (คน) อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง |
48.00 | 40.00 |
2 | เพื่อกำจัดยุงซึ่งเป็นเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก (แห่ง) กำจัดยุงซึ่งเป็นเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก |
27.00 | 27.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการพ่นหมอกควันในชุมชน ในโรงเรียนและสถานที่ราชการ | 0 | 22,582.00 | ✔ | 18,228.78 | |
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก | 0 | 32,736.00 | ✔ | 5,700.00 | |
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออก | 0 | 750.00 | - | ||
รวม | 0 | 56,068.00 | 2 | 23,928.78 |
1.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง 2.สามารถกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกได้ 3.ประชาชนได้รับความรู้และสามารถป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2566 00:00 น.