กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออกม.1
รหัสโครงการ 66-L3013-02-31
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่1
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 กันยายน 2566 - 31 มกราคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กุมภาพันธ์ 2567
งบประมาณ 17,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวคอดียะห์ สาเล็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลกอเดร์ การีนา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทยมาตลอด เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อยุงลายเป็นพาหะที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคติดต่อตามสถานการณ์ โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ.2563-2564) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2565 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 – 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ 10,000 – 16,000 ราย เดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน -กันยายน) ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้น และซักนำให้ประชาชนองค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการตำบลบานา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม - กันยายน ของทุกปี จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน โรงเรียน และศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะของตนเอง

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะของตนเอง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนช่วยกันสำรวจและกำจัดแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลายด้วยวิธีการที่เหมาะสม

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้านและบริเวณบ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 69 17,200.00 0 0.00
29 ก.ย. 66 อบรมการการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เลือดออก 60 13,750.00 -
23 ต.ค. 66 - 8 ม.ค. 67 กิจกรรมประเมินติดตามการคัดแยกขยะและการกำจัดลูกน้ำในครัวเรือน 9 3,450.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะของตนเอง

  2. ทำให้แหล่งเพาะพันธุ์ลูกยุงลายลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2566 00:00 น.