กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน ควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานแบบบูรณาการ ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 11 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 ตุลาคม 2566 - 29 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 64,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนก กลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.617889,100.040174place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 11 ต.ค. 2566 29 ธ.ค. 2566 64,300.00
รวมงบประมาณ 64,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
35.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
28.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยข้อมูลจากรายงานของสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยพบว่าในปี 2560 นั้นมีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกตรวจพบทั้งหมดในเมืองไทยคือ 4,400,000 ราย และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกในทุกๆปี นอกจากนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้รายงานผลการตรวจคัดกรองระดับน้ำตาลในเลือดของประชาชนกว่าร้อยละ 80 ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ พบว่า เฉลี่ยร้อยละ 12.23 ของผู้ได้รับการคัดกรอง หรือกว่า 3,424,400 คนมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน หากยังไม่มีมาตรการป้องกันและรักษาพยาบาลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ดี เมื่อเวลาผ่านไปผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวานเหล่านี้จะมีโอกาสกลายโรคเบาหวานในระยะ 5-10 ปี ด้วยเหตุผลนี้การลดโอกาสในการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยลดผลกระทบและภาระโรคที่เกิดจากโรคเบาหวานได้สำหรับประเทศไทยและความชุกของคนไทยที่อ้วน ร้อยละ 37 พ.ศ. 2558 จังหวัดพัทลุง มีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร 7,171.90 อัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร 27.27 มีอัตราอุบัติการณ์โรคเบาหวานต่อแสนประชากร 601.41 อำเภอเมืองพัทลุงมีอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร 8,993.24 มีอัตราตายด้วยโรคเบาหวานต่อแสนประชากร46.41 มีอัตราอุบัติการณ์โรคเบาหวานต่อแสนประชากร 601.41 ส่วนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว รับผิดชอบพื้นที่ หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงายอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง มีประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,300 คน มีความชุกของโรคเบาหวาน ร้อยละ 11.54ความชุกโรคเบาหวาน ร้อยละ29.92 ซึ่งอัตราป่วยของประชาชนในพื้นที่เป็นภาระด้านการรักษาพยาบาลของชาติจึงมีความจำเป็นต้องมีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นประจำทุกปีเพื่อลดการป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

ประชาชนอายุ 35 ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 95

88.00 95.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

28.00 15.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

35.00 26.00
4 4. เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  1. อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคเบาหวานไม่เกิน 1.2
  2. อัตราป่วยใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไม่เกิน 2.7
3.50 1.20
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
11 ต.ค. 66 - 29 ธ.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 0 50,700.00 -
1 พ.ย. 66 - 29 ก.พ. 67 2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง จำนวน 100 คน 0 13,600.00 -
2 ก.พ. 67 - 5 เม.ย. 67 กิจกรรมที่ 3 การตรวจคัดกรองซ้ำ/ส่งต่อกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรองพบว่ายังมีความเสี่ยงพบแพทย์ 0 0.00 -
2 พ.ค. 67 - 17 ก.ค. 67 กิจกรรมที่ 4 การประเมินผล/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน/การเยี่ยมบ้าน 0 0.00 -
รวม 0 64,300.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานเป็นผู้ป่วยรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 1.2
  3. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้รายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 2.7
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2566 00:00 น.