กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนคูหาใต้ยิ้มสดใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก
รหัสโครงการ 66-L8402-1-28
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้
วันที่อนุมัติ 15 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,255.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจริญศรี เมืองแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 43 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 593 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 175 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพปีงบประมาณ 2565 ของจังหวัดสงขลา พบว่าเด็กอายุ 3 ปี ในอำเภอรัตภูมิ มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 43.09 ในขณะที่เด็กกลุ่มอายุ 12 ปี มีฟันผุ คิดเป็นร้อยละ 18.83 ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาโรคฟันผุในทั้ง 2 กลุ่มอายุ ยังเป็นปัญหาที่ต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง และต้องอาศัยการช่วยเหลือดูแลสุขภาพช่องปาก จากบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายๆกลุ่มอายุ ซึ่งในแต่ละกลุ่มอายุ ก็ยังมีพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก พ่อ แม่ ครูผู้ปกครอง แลผู้สูงอายุที่ดูแลบุตรหลาน โดยจะต้องมีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ดีทางทันตสุขภาพ ตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ การเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูประจำชั้น ในระดับประถมศึกษา นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ป่วยโรคสำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวานและกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคในช่องปากและจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมอีกด้วย   งานทันตสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอรัตภูมิ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุต่างๆของเครือข่ายอำเภอรัตภูมิขึ้น เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุ ส่งเสริมทันตกรรมสุขภาพ ในกลุ่มอายุต่างๆและช่วยผู้ปกครอง, ครูพี่เลี้ยงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, ครูในโรงเรียนประถมศึกษา, ผู้ป่วยเบาหวาน, อาสาสมัครสาธารณสุข, ผู้สูงอายุ ฯลฯ ได้มีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี ทั้งของตนเองและครอบครัว อันจะส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายสำคัญคือกลุ่มเด็กเล็กได้รับการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสมนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้และดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้อย่างถูกต้อง

ประชาชนในกลุ่มวัยต่างๆในพื้นที่มีความรู้ ดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ และได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม มากกว่า ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้เด็ก 0 - 3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก พร้อมทาฟลูออไรด์วานิช

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันและควบคุม แผ่นคราบจุลินทรีย์ ร้อยละ 70

70.00
3 เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มอายุต่างๆอย่างต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากมากกว่า ร้อยละ 20

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้และดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้อย่างถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้เด็ก 0 - 3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก พร้อมทาฟลูออไรด์วานิช

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มอายุต่างๆอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 เก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาการทันตสุขภาพในพื้นที่ รพ.สต.คูหาใต้ 1.2 เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติของบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการ 1.3 เตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้ในงานอบรม 2.ขั้นดำเนินการ 2.1 ส่งหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการพัฒนา รพ.สต.คูหาใต้ รวมทั้ง อสม. รพ.สต.สท.ต.และแกนนำชุมชน เพื่อชี้แจงปัญหาสุขภาพทางทันตกรรมในพื้นที่ 2.2 ประชุมชี้แจงโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามกลุ่มอายุในปัจจุบันแก่เครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.คูหาใต้ ทั้งหาแนวทางการดำเนินการในชุมชน 2.3 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ใบความรู้ แผ่นพับในสถานบริการ ป้ายประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) ในชุมชน และเสียงตามสายผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน ให้ได้รับความรู้การดูแลสุขภาพช่องปากตามกลุ่มวัย 2.4 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์รายใหม่และมีการสาธิตการฝึหทักษะการแปรงฟัน 2.5 หญิงมีครรภ์ในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากจากเจ้าหน้าที่และได้รับการส่งต่อนัดหมายทางทันตกรรมตามความเหมาะสม 2.6 ประสานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/อนุบาล/Nursery ในเขตรับผิดชอบ เพื่อติดต่อเข้าทำกิจกรรมทางทันตกรรมสำหรับเด็กในศูนย์ 2.7 อบรมให้ความรู้ อาสาสมัครสาธารณสุขด้านทันตสุขภาพ ครูและผู้ปกครองเด็ก 0 - 3 ปี ทุกรายและสาธิตการแปรงฟันที่ถูกต้องและเด็ก 0 - 3 ปี ได้รับการตรวจช่องปากพร้อมทาฟลูออไรด์ทุกคน 2.8 ประสานงานกับทางโรงเรียนในเขตรับผิดชอบและครูอนามัย วางแผนดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนและเพื่อขออนุญาตผู้ปกครอง 2.9 ปฏิบัติงานตามแผน โดยให้บริการตรวจฟันให้นักเรียน ชั้น ป.1 - ป.6 เคลือบหลุมร่องฟันในนักเรียนชั้น ป.1 และนักเรียนอายุ 6 ปี และบริการทันตกรรม ด้านการอุดฟัน การขูดหินปูนและการถอนฟัน นักเรียน 6 - 12 ปี 2.10 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขศึกษา สอนแปรงฟันและฝึกปฏิบัติในคาบวิชาเรียนสุขศึกษา ติดตามการดำเนินงานทันตสุขภาพในโรงเรียนและกระตุ้นการแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง และจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน อีกทั้งนัดหมายให้เด็กนักเรียนมารับการรักษาที่ รพ.สต. หรือโรงพยาบาลตามความเหมาะสม 2.11 อบรมให้ความรู้ผู้สูงอายุ ด้านการดูแลสุขภาพช่องปากและตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในพื้นที่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2.12 จัดตั้งกองทุนแปรงสีฟัน เพื่อส่งเสริมการแปรงฟัน 2.13 ติดตามและประเมินสุขภาพช่องปากอย่างต่อเนื่อง 3.สรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ระบบการบริการสุขภาพช่องปาก ทั้งด้านการสร้างเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู ได้รับการพัฒนาและร่วมบูรณาการอย่างเป็นองค์รวม 2.ประชาชนทุกกลุ่มวัยเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น 3.การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปาก 4.ปัญหาสุขภาพช่องปากในพื้นที่ลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2566 18:02 น.