กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจิตอาสากรงปินังร่วมใจ ใส่ใจ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ปวยติดบ้าน ติดเตียง ปฏิบัติอิบาดะอ์ได้สมบูรณ์ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 17/2566
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมจิตอาสาสาธารณสุขอำเภอกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 17 สิงหาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กันยายน 2566 - 31 ตุลาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 54,620.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาลาวียะห์ กาเจ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการให้บริการดูแลสุขภาพในระบบสาธารณสุขที่สำคัญและครอบคลุมชีวิตความเป็นอยู่ของปัจเจกบุคคลนั้น ต้องใช้หลักการพยาบาลแบบองค์รวม (Holistic Care) คือ การดูแลผู้รับบริการแบบมองให้ครบทุกด้านของความเป็นมนุษย์ ไม่แยกส่วน ให้การดูแลโดยคำนึงถึงองค์ประกอบในร่างกาย ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ไม่ได้พิจารณาเฉพาะโรคที่เป็นหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่พิจารณาจากความสัมพันธ์ของทั้ง  4 ด้านให้มีภาวะสมดุล คงไว้ซึ่งความมีสุขภาวะที่ดี โดยให้ความหมายของแต่ละด้าน ดังนี้ ได้แก่ ด้านร่างกาย (Physical) คือ ให้การดูแลที่เน้นให้ร่างกายมีความแข็งแรง มีพละกำลังที่สมบูรณ์ ด้านจิตใจ (Mental) คือ การมีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุข ปราศจากความเครียด สามารถปรับตัวต่อทุกสภาวะของร่างกายได้ดี มีความคิดความอ่าน ได้เหมาะสมตามวัย ด้านสังคม (Social) คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น    ได้อย่างมีความสุข และมีระบบบริการที่ดี มีแหล่งช่วยเหลือที่เหมาะสม ด้านจิตวิญญาณ (Spiritual) หรืออาจหมายถึง ด้านปัญญา คือ การมีความสุขที่เกิดจากความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ความเชื่อต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย และใจ โดยเฉพาะด้านจิตวิญญาณ ความเชื่อหรือด้านศาสนา
      ซึ่งการดูแลสุขภาพและสาธารณสุขในยุคปัจจุบันนั้น ความเกี่ยวข้องระหว่างศาสนากับสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญประการหนึ่งที่มีการกล่าวถึงอยู่ไม่น้อย ดังเช่น ศาสนาอิสลาม หากย้อนกลับไปพิจารณาวิถีของอิสลาม ซึ่งเป็นวิถีในการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์และครอบคลุมทุกๆ ด้าน (The way of life) เรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยนั้น อิสลามได้พูดถึงอย่างละเอียดทั้งด้านการส่งเสริม ป้องกัน บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนต้องนำมาปฏิบัติ เราจะพบว่า วิถีชีวิตประจำวันของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ดำเนินไปตามหลักคำสอนของอิสลาม      ที่ครอบคลุมทุกอย่างเกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่หัวใจ และจิตใจของมนุษย์จนครอบคลุมทุกส่วนของร่างกาย และสภาพแวดล้อมที่มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกรอบความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบระหว่างสุขภาพกับ ศาสนพิธี หรือ “อิบาดะอ์” เช่น การละหมาด การถือศีลอด การอาบน้ำละหมาด การออกกำลังกาย โภชนาการ การพักผ่อน การป้องกัน การรักษา การปฏิบัติตามคำสอนของอิสลามจึงเป็นการปฏิบัติดีเกี่ยวกับสุขภาพไปพร้อมกันด้วย โดยคำสอนทั่วไปของอิสลามเกี่ยวกับสุขภาพที่มีการปฏิบัติกันในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1. ด้านความสะอาด ชาวมุสลิมถือว่าความสะอาดทางจิตใจมีความสำคัญ หมายถึงการตั้งมั่นต่ออัลลอฮแต่เพียงผู้เดียว และยังรวมถึงการขัดเกลาจิตใจให้ปลอดจากความอิจฉาริษยา ส่วนความสะอาดของร่างกายนั้นก็สำคัญไม่น้อยไปกว่า จะพบว่ามีกฎเกณฑ์กำหนดไว้มากมาย เช่น การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย การตัดเล็บ การแปรงฟัน การสวมใส่เสื้อผ้าที่

-2- สะอาด ฯลฯ 2. ด้านโภชนาการ เท่าที่พบหลักฐานโภชนาการตามแนวทางของอิสลามนั้น อาหารต้องครอบคลุมถึงอาหาร ทุกชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย เน้นความสำคัญของ นม น้ำผึ้ง เนื้อ ผลไม้ และผักต่างๆ ให้ความสำคัญเรื่อง ความสะอาดของอาหาร ไม่รับประทานอย่างฟุ่มเฟือย เป็นต้น 3. ด้านการออกกำลังกาย อิสลามถือว่าการมีร่างกายที่แข็งแรงและสุขภาพดีเป็นความโปรดปรานจากอัลลอฮ การรักษาความแข็งแรงและสุขภาพร่างกายของชาวมุสลิมจึงถือเป็นการตระหนักต่อความโปรดปรานจากอัลลอฮ หรือเป็นการปฏิบัติทางศาสนาด้วยเช่นกัน 4. การป้องกันและบำบัดโรค ในหมู่ชาวมุสลิมให้ความสำคัญและเอาใจใส่ต่อเรื่องความสะอาด การบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกายเป็นประจำ และการมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ ตลอดจนมีวิธีการในการควบคุมโรคติดต่อเพื่อไม่ให้แพร่ระบาดด้วยตลอดจนสำหรับสุขภาพในศาสนพิธีของอิสลามนั้น เป็นทั้งกฎเกณฑ์เพื่อฝึกควบคุมร่างกายและส่งเสริมสุขภาพจิตไปพร้อมๆกัน ในการถือศีลอด ทุกๆปี มุสลิมจะถือศีลอดหนึ่งเดือน คือเดือนเราะมะฎอน นอกจากนั้นอิสลามยังส่งเสริมให้มีการถือศีลอดในโอกาสต่างๆ รวมทั้งการถือศีลอดในวันจันทร์และพฤหัสบดี หรืออย่างน้อยที่สุดในแต่ละเดือนจะถือศีลอดไม่น้อยกว่าสามวัน ซึ่งเป็นการกระทำแบบสมัครใจ กล่าวได้ว่าการถือศีลอดมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการสร้างสุขภาพ นั่นคือการสร้างระเบียบวินัยต่อร่างกายด้วยการฝึกความอดทนและการปรับตัว ในขณะที่การประกอบพิธีฮัจญ์นั้นจะกระทำไม่ได้เลยหากมีสุขภาพกายไม่ดี เพราะต้องใช้กำลังกายในการหมุน การเดินที่เป็นองค์ประกอบหรือเงื่อนไขของพิธีฮัจญ์ และสิ่งสำคัญอีกประการนึงก็คือ ในการละหมาด การละหมาดคือเสาหลักของศาสนา มุสลิมทุกคนจะทำการละหมาดภาคบังคับวันละห้าเวลา ความสะอาดถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการละหมาดแต่ละครั้ง คือต้องสะอาดทั้งสถานที่ เสื้อผ้าที่ใช้ รวมทั้งต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดด้วยการอาบน้ำหรืออาบน้ำละหมาด อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติในศาสนพิธีของอิสลามก็มีข้อยกเว้นสำหรับมุสลิมที่เจ็บป่วยหรืออยู่ระหว่างการเดินทางด้วย ดังนั้นแล้วการปฏิบัติตัวเป็นมุสลิมที่ดีจึงสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพอันเป็นวิถีของอิสลามที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานับจากอดีตจนปัจจุบัน   ในส่วนของพื้นที่ตำบลกรงปินัง ซึ่งได้แก่ หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และหมู่ที่ 9 ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง ประชาชนนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 100 โดยในจำนวนนี้ มีจำนวนผู้ป่วยติดบ้าน และติดเตียงเป็นจำนวน รวม 30 ราย ซึ่งพบว่า ในเรื่องสุขภาพด้านจิตวิญญาณ หรือการได้ปฏิบัติกิจกรรมการละหมาด ซึ่งเป็นเสาหลักของศาสนา ที่ศาสนากำหนดปฏิบัติวันละ 5 เวลานั้น จากการเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฎิบัติงานในพื้นที่พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ไม่ได้ปฏิบัติกิจกรรมการละหมาด 5 เวลา หรือละหมาดเพียงบางเวลา อาจจะเกิดจากความไม่เข้าใจคิดว่า ความเจ็บป่วย ภาวะติดเตียง ร่างกายไม่มีความพร้อม ร่างกายไม่สะอาดเพียงพอ หรือไม่สามารถอาบน้ำละหมาด เพื่อปฏิบัติการละหมาดดังกล่าวได้ ทำไห้ผู้ป่วยขาดละหมาดไปโดยปริยาย หรืออาจจะทำไปในแบบที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่เข้าใจ หรือไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในส่วนนี้ ทางชมรมจิตอาสาสาธารณสุข ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในข้อนี้เป็นอย่างยิ่งจึงได้จัดทำโครงการจิตอาสากรงปินังร่วมใจ ใส่ใจ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ปฏิบัติอีบาดัตได้สมบูรณ์ ประจำปี 2566 เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยด้วยการให้ความสำคัญกับทุกด้านของร่างกาย ดูแลคนแบบคนทั้งคน เพื่อส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีสุขภาพกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณที่ดี กล่าวคือ มีความรู้สึกที่เป็นสุข สามารถปรับตัวต่อการรักษา ดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม คือสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุข และที่สำคัญสามารถปฏิบัติกิจวัตรที่ศาสนากำหนดได้อย่างต่อเนื่องแม้ยามป่วยไข้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้จิตอาสาสาธารณสุขในพื้นที่ และผู้ดูแลผู้ป่วย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยยามเจ็บป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยติด บ้านติดเตียง

 

2 เพื่อให้จิตอาสาสาธารณสุขในพื้นที่ มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถให้คำแนะนำผู้ป่วยปฏิบัติการละหมาดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะการเจ็บป่วย ตลอดจนผู้ดูแลสามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้ป่วยได้

 

3 เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงสามารถปฏิบัติการละหมาดได้ และปฏิบัติได้ถูกต้องแม้ในยามเจ็บป่วย หรือมีข้อจำกัดกรณีเจ็บป่วย

 

4 เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย สุขกาย สบายใจ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 ขั้นเตรียมการดำเนินการ     - ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ชมรมจิตอาสาสาธารณสุข เกี่ยวกับการรูปแบบโครงการและเขียนโครงการเสนอต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ         - ประสานกับหน่วยงานและบุคลากรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง       - ประชาสัมพันธ์โครงการ   2.2. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังนี้   กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานชมรมจิตอาสาสาธารณสุขเกี่ยวกับโครงการ วางแผนงานกิจกรรมต่างๆในโครงการฯ
      กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแล จิตอาสาสาธารณสุขผู้ดูแลผู้ป่วยที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการละหมาดในผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง รวมถึงการปฏิบัติอิบาดะอ์ยามเจ็บป่วย
    กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน ตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพตามรายโรคและสอน สาธิตการละหมาดที่เตียง/บ้านผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล   กิจกรรมที่ 4 ประชุมถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียงในชุมชน และสรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ
        2.3 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้จิตอาสาสาธารณสุขในพื้นที่ และผู้ดูแลผู้ป่วย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยยามเจ็บป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง สามารถให้คำแนะนำผู้ป่วยปฏิบัติการละหมาดได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะการเจ็บป่วยของผู้ป่วย ตลอดจนผู้ดูแลสามารถอำนวยความสะดวกในการละหมาดให้แก่ผู้ป่วยได้
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงสามารถปฏิบัติการละหมาดได้ และปฏิบัติได้ถูกต้องแม้ในยามเจ็บป่วยหรือมีข้อจำกัดกรณีเจ็บป่วย เป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วย สุขกาย สบายใจ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.ย. 2566 11:26 น.