กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L1475-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 71,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.532,99.71place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้ดำเนินงานหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับบุคคลในพื้นที่ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น และกำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน บริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่ง พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พุทธศักราช 2545 มาตรา 47
โดยสนับสนุนให้หน่วยบริการ หน่วยงาน องค์กร หรือกลุ่มประชาชน จัดบริการหรือกิจกรรมกระบวนการสนับสนุนประสานให้หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชนจัดทำโครงการหรือกิจกรรมให้บริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ  เชิงรุก รวมถึงการจัดขบวนการหรือกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรคให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง โดยมุ่งเน้น กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบการอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ กิจกรรมหรือโครงการที่ดำเนินการในกลุ่มเป้าหมายจะต้องการเป็นการดำเนินการโดยชุมชนและผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและการพิจารณางบประมาณต่างๆ นั้นสามารถสนับสนุนกิจกรรมใน 4 ลักษณะ คือ 1.การจัดบริการสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ 2.ส่งเสริม/สนับสนุนการดำเนินงานหน่วยบริการสาธารณสุขที่อยู่ในชุมชนท้องถิ่น 3.การสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกิดจากการริเริ่มของประชาชน 4.การบริหารกองทุน/พัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสีย ดำเนินการเป็นไปบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด จึงได้จัดโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ขึ้น เพื่อจัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการอนุมัติแผนงาน/โครงการและกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาข้าวเสียต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเป็นไปตามวัตถุประสงค์ประกาศของกองทุนฯ

 

2 2. เพื่อให้คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างสม่ำเสมอ

 

3 3. เพื่อสรุปรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

 

4 4. เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ/คณะอนุกรรมการฯ เพื่อหารือและกำหนดแนวทางการดำเนินงาน
    1. จัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    2. ดำเนินงานตามโครงการและสรุปผลการดำเนินงานกองทุนฯ
    3. รายงานผลการดำเนินงานกองทุนฯ การใช้จ่ายงบประมาณกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการบริหารกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพฯ มีการอนุมัติแผนงาน/โครงการทุกรายไตรมาส
    1. คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ มีการติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพฯ เป็นประจำทุกเดือน
    2. ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและเสนอแผนงานโครงการของกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพฯ
    3. คณะกรรมการบริหารกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพฯได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้รับการพัฒนาศักยภาพสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ย. 2566 14:45 น.