กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปลูกผักปลอดสารพิษริมถนนทุกคนเก็บกินได้ บ้านท่าเนียน ปี 2566
รหัสโครงการ 26-L3333-02-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านท่าเนียน หมู่ที่ 3 ต.เกาะนางคำ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 มกราคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มกราคม 2567
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเกริกเกียรติ เซ่งลอยเลื่อน
พี่เลี้ยงโครงการ นายกำพล เศรษฐสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสภาวะปัจจุบันมีการเจ็บป่วยของผู้คนเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีอันตรายเข้าไปสู่ร่างกาย ส่วนใหญ่จะปนเปื้อนมาจากพืชผักผลไม้ เพราะผู้ผลิตขาดความรับผิดชอบ ต้องการแต่จำนวนผลผลิตแต่ขาดจิตรสำนึกถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายเพื่อเพิ่มผลผลิต
พื้นที่ หมูที่ 3 บ้านท่าเนียน มีถนนทางหลวงชนบทผ่านในหมู่บ้าน ประมาณ 12 กิโลเมตร 2 ข้างทางถนนมีพื้นที่ว่างเปล่าข้างละประมาณ 10 เมตร เป็นพื้นที่ของ สนง.ทางหลวงชนบท เหมาะสำหรับปลูกพืชผักสวนครัวเป็นอย่างมาก โดยที่ผู้นำ (ผู้ใหญ่บ้าน) ได้ประสานขอใช้พื้นที่กับ สนง.ทางหลวงชนบท เป็นที่เรียบร้อยและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี จากสาเหตุดังกล่าว ชาวบ้านได้ริเริ่มตั้งกลุ่มเพื่อ ผลิตพืชผักปลอดสารพิษ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สปสช.เพื่อให้ทุกคนในหมู่บ้านได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัย มีการปลูกเอง ดูแลเอง บริโภคเอง ของกลุ่ม เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีด้านสุขภาพ ลดรายจ่าย สร้างความสามัคคี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษ

ร้อยละ 65 ของจำนวนประชากรในหมู่บ้าน มีพฤติกรรมในการบริโภคผักที่ปลูกเอง ปลอดสารเคมี

0.00
2 เพื่อให้คนในชุมชนได้บริโภคพืชผักที่ปลอดสารพิษ

ร้อยละ 65  ของจำนวนประชากรในหมู่บ้าน ลดความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากการบริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ม.ค. 67 ประชุมชาวบ้านชี้แจงที่มาของโครงการ และวัตถุประสงค์ และร่วมพิจารณาคัดเลือกจุดสถานที่ที่เหมาะสมกับการปลูกพืชผัก 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ม.ค. 67 อบรมเรื่อง ประโยชน์ของผักแต่ละชนิด ประโยชน์ของการปลูกผักแบบอินทรีย์ และโทษของผักที่ปลูกจากการใช้สารเคมี โดยวิทยากรเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานเกษตรอำเภอปากพะยูน 0 800.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ม.ค. 67 จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับเตรียมพื้นที่ และปลูกผัก 0 12,200.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ม.ค. 67 ให้ชาวบ้านลงพื้นที่ปลูกพืชผัก และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแล 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ม.ค. 67 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 -
  1. ประชุมชาวบ้านชี้แจงที่มาของโครงการ และวัตถุประสงค์ และร่วมพิจารณาคัดเลือกจุดสถานที่ที่เหมาะสมกับการปลูกพืชผัก
  2. อบรมเรื่อง ประโยชน์ของผักแต่ละชนิด ประโยชน์ของการปลูกผักแบบอินทรีย์ และโทษของผักที่ปลูกจากการใช้สารเคมี โดยวิทยากรเจ้าหน้าที่จาก สำนักงานเกษตรอำเภอปากพะยูน
  3. แบ่งกลุ่มชาวบ้านเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกพืชผัก เช่น ตัดหญ้า เก็บขยะ ขุดดิน
  4. จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับเตรียมพื้นที่ และปลูกผัก
  5. ให้ชาวบ้านลงพื้นที่ปลูกพืชผัก และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแล
  6. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คนในชุมชนเกิดความรักสามัคคี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
  2. คนในชุมชน ได้บริโภคผักที่ปลอดสารพิษ มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง
  3. ลดรายจ่ายในครัวเรือน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2566 12:24 น.