กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L1485-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 125,936.25 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.288,99.862place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 27 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕61 ลงวันที่ 13 กันยายน ๒๕61 ข้อ 10 กำหนดว่า เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ
ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้ (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ ๑5 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ในแต่ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรงให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็นและครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ซึ่งเป็นข้อกำหนดเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุน ฯ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ค่าใช้จ่ายในการประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าวัสดุ หรือครุภัณฑ์ ที่ใช้ดำเนินงานกองทุน การพัฒนาศักยภาพกองทุน เช่น การอบรมคณะกรรมการ การจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน และอื่นๆเพื่อการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ และข้อ 23 เป็นข้อกำหนดในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเงินกองทุนฯ คงเหลือมากกว่า 2 เท่าของรายรับกองทุนฯของปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยสำนักงานอาจงดการจัดสรรเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นงดสมทบเงินของปีงบประมาณนั้นได้ ซึ่งการดำเนินและการบริหารจัดการกองทุนฯตามข้อ 10 (4) ให้สามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินวงเงินของปีที่ผ่านมา หมวด 3 ค่าตอบแทนการประชุม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ ข้อ 6. เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้จ่ายเป็นค่าตอบแทนของกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คณะทำงานและบุคคลภายนอกที่ได้รับเชิญมาประชุม ดังต่อไปนี้ 6.1 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับกรรมการหรือที่ปรึกษา ไม่เกินครั้งละ 400 บาทต่อคนเดือนหนึ่งไม่เกิน 800 บาท
6.2 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับอนุกรรมการ ไม่เกินครั้งละ 300 บาท ต่อคนเดือนหนึ่งไม่เกิน 600 บาท
6.3 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับคณะทำงาน ไม่เกินครั้งละ 200 บาท ต่อคน เดือนหนึ่งไม่เกิน 400 บาท
6.4 ค่าตอบแทนในการประชุมสำหรับบุคคลภายนอกซึ่งเข้าประชุมคณะกรรมการกองทุนหรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ให้เบิกจ่ายค่าตอบแทนได้เท่ากับกรรมการ หรืออนุกรรมการหรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณี ข้อ 7 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้จ่ายเป็นค่าตอบแทนสำหรับเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน -2-

หลักประกันสุขภาพที่เข้าประชุมคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานให้เบิกจ่ายในอัตราเท่ากับกรรมการหรืออนุกรรมการ หรือคณะทำงาน แล้วแต่กรณี ข้อ 8 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางของกรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ คระทำงาน และเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เบิกจ่ายได้ในอัตราไม่เกินระเบียบของทางราชการโดยอนุโลม ทั้งนี้ โดยการอนุมัติของประธานกรรมการ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล    ปะเหลียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงสถานะการคลังของกองทุนฯ
จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ พัฒนางานและติดตามการบริหารงาน ความก้าวหน้าของกองทุนฯ

 

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนฯ

 

3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน

 

4 เพื่อให้มีวัสดุและครุภัณฑ์ต่างๆใช้ได้อย่างเพียงพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 105 60,747.00 0 0.00
7 พ.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติแผนการเงิน แผนงานโครงการ ครั้งที่ 7/66 20 8,000.00 -
25 ธ.ค. 66 ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 7/66 8 2,400.00 -
27 ธ.ค. 66 ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 8/66 8 2,400.00 -
16 ม.ค. 67 ประชุมคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติโครงการ ปรับแผนการเงิน ครั้งที่ 1/67 15 7,200.00 -
16 ม.ค. 67 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์เพื่อใช้ในการดำเนินงานกองทุนฯ 0 18,547.00 -
19 ม.ค. 67 ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 1-2/67 7 4,200.00 -
12 ก.พ. 67 ประชุมคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติโครงการ ครั้งที่ 2/67 21 8,400.00 -
15 ก.พ. 67 ประชุมคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ ครั้งที่ 3/67 8 2,400.00 -
18 เม.ย. 67 ประชุมคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติโครงการ ครั้งที่ 3/67 18 7,200.00 -

๑. ประชุมทำแผนสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน
2. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน ฯ คณะอนุกรรมการกองทุนและเจ้าหน้าที่กองทุนเพื่อพิจารณากลั่นกรอง อนุมัติโครงการ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่ขอรับงบประมาณจากกองทุนฯ 3. รายงานผลการดำเนินงาน การใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนฯ และสรุปผลการดำเนินงาน      กองทุน ฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ และได้พัฒนางาน ติดตามการบริหารงาน ความก้าวหน้าของกองทุนฯ
  2. ได้พัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนฯ ทำให้กองทุนมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น
  3. ได้พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน ทำให้คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการมีความรู้ ความเข้าใจ มีศักยภาพในการดำเนินงานกองทุนฯให้มีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของ        สปสช. แห่งชาติ
  4. มีวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ต่างๆใช้ได้อย่างเพียงพอและสะดวกในการปฏิบัติงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2566 16:18 น.