กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคแบบมีส่วนร่วม
รหัสโครงการ 67-L5205-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหรัง
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 11,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุวดี จันกระจ่าง
พี่เลี้ยงโครงการ นายธนพนธ์ จรสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองหรัง อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.952211,100.563038place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคที่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพ ประกอบด้วย อาหาร ยาเครื่องสำอาง อาหารเสริม เป็นต้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวล้วนมี มาตรการภาครัฐ สำหรับควบคุมคุณภาพมาตรฐานและโดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ก็มีรายงานการตรวจพบ สารอันตรายห้ามใช้หรือสิ่งควบคุมเกินมาตรฐานกำหนดในผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ มาโดยตลอด การดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยในการบริโภคด้านอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆเช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคด้านต่าง ๆ ในชุมชน เนื่องจาก พบว่าในหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ สื่อความรู้ ต่าง ๆ เข้าไม่ถึงหรือยังมีน้อย พบว่ามีร้านค้าในชุมชน รวมทั้งรถเร่ นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทย มาจำหน่ายแก่ประชาชนในชุมชน ประกอบกับในปัจจุบัน มีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพในคลื่นวิทยุชุมชน ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภคด้านต่าง ๆ อาจตก เป็นเหยื่อ หรือได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาเหล่านั้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาปฏิชีวนะและอาหารเสริมที่มีส่วนผสมสเตียรอยด์ ทำให้เกิดการรับสารที่อันตรายและได้รับ อย่างไม่สมเหตุสมผล ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนระยะยาว จากการ สำรวจร้านค้าปี 2565 ครั้งที่1 และ 2 ร้านชำ จำนวน 18 ร้าน และแผงลอยจำนวน 24 ร้าน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองหรัง จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภค ในชุมชนด้วยพลังของชุมชน เป็นระบบเครือข่าย และคณะทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ยา ไม่ปลอดภัย การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังรถเร่ หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ในชุมชน ทำให้ชุมชนปลอดภัยจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ เฝ้าระวัง ความปลอดภัยของประชาชน และชุมชน เขตตำบลคลองหรังที่ครอบคลุม และมีความต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อยกระดับผู้ประกอบการ ร้านค้าร้านชำ แผงลอยให้มีมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาดอร่อย
  1. ร้านค้า ร้านของชำ ผ่านมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาดอร่อย
0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ผู้บริโภค อสม. ครู นักเรียน อ.ย.น้อย ได้มีความรู้สามารถ เลือกชื้อ อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ปลอดภัยไม่ผิดฎหมาย

ผู้บริโภค อสม. ครู นักเรียน อ.ย.น้อย มีความรู้สามารถ เลือกชื้อ อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยไม่ผิดฎหมายได้

0.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อเฝ้าระวัง สถานประกอบการที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐานและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารที่ไม่ได้มาตรฐาน

ร้านอาหาร ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐาน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,750.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 1. อบรมภาคีเครือข่ายอสม. ผู้ประกอบการ ร้านค้า ที่ผลิตอาหารตามมาตรฐาน GMPด้าน คุ้มครองผู้บริโภค 0 1,250.00 -
1 มี.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 2. อบรม อย.น้อยในโรงเรียน 2 แห่ง จำนวน 60 คน 0 1,500.00 -
1 มี.ค. 67 - 31 ส.ค. 67 3. ตรวจประเมินแนะนำร้านค้า ผู้ประกอบการ ร้านชำ แผงลอย 0 9,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจาการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพ และอาหารปลอดภัย
๒. ผู้ประกอบการร้านขายของชำ/แผงลอย สามารถเลือกซื้อสินค้าและบริการสุขภาพที่มีคุณภาพมาจำหน่ายให้กับ ผู้บริโภค ๓. ร้านขายของชำ/แผงลอย ในพื้นที่ได้รับการเฝ้าระวัง/ประเมินติดตาม/ตรวจสอบตามกฎหมาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2566 18:58 น.