กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกโรคไข้มาลาเรีย และการควบคุมไฟป่า ในกลุ่มมานิ รักษ์ป่าบอน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตมานิ
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 21,248.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยยุทธ บุญนุ้ย นายต้อม รักษ์ป่าบอน นางกุ้ง รักษ์ป่าบอน นายมน รักษ์ป่าบอน นางสาวเม รักษ์ป่าบอน
พี่เลี้ยงโครงการ ว่าที่ร้อยตรีหญิงเสาวนธ์ แสงเขียว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย
30.00
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหมอกควันไฟใหม้ป่า
80.00
3 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. สภาพภูมิศาสตร์ของถิ่นที่อยู่ของชาวมานิ ในภาคใต้ของประเทศไทย มีเทือกเขาที่ยาวที่สุดคือเทือกเขานครศรีธรรมราชที่ทอดผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรังพัทลุง สตูล และสงขลา โดยส่วนปลายของเทือกเขานี้ไปบรรจบกับเทือกเขาสันกาลาคีรีที่ทอดตามแนวพรมแดนไทย-มาเลเซีย ผ่านจังหวัดยะลาและนราธิวาส บริเวณที่เทือกเขาทอดผ่านประกอบด้วยป่าดิบชื้นที่มีความ หลากหลายทางชีวภาพสูงมาเป็นเวลานาน จึงเอื้ออำ นวยให้ชาวมานิดำรง ชีพอยู่ได้ โดยอาศัยทรัพยากรจากป่าในบริเวณที่อยู่อาศัย ซึ่งชาวบ้านตลอดแนวเทือกเขานครศรีธรรมราชนี้มักจะเรียกเทือกเขานี้ว่า เขาบรรทัด หรือ เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาบรรทัดมีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีความ สูงจากระดับน้ำทะเลระหว่าง 100-1,350 เมตร ประกอบด้วยป่าดิบชื้นป่าดิบเขา มีทุ่งหญ้า และป่าละเมาะกระจายเป็นหย่อมๆ จากระบบนิเวศที่ มีความหลากหลายเช่นนี้ จึงเกิดความหลากหลายทางชีวภาพ มีผลให้ชาว มานิ (ซาไก) มีอาหารสำ หรับบริโภคได้ตลอดทั้งปี และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ 38 38 มาได้ตลอดหลายช่วงอายุคน แต่ในปี พ.ศ.2504 ป่าในเทือกเขาบรรทัด ถูกบุกรุก โดยรัฐบาลได้ให้สัมปทานทำ ไม้แก่บริษัทเอกชนตามแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ต้นไม้ในป่าเทือกเขาบรรทัดจึงถูกตัดไปเป็น จำนวนมาก นอกจากนั้นชาวบ้านยังได้ฉวยโอกาสเข้าจับจองพื้นที่เหล่านั้น เป็นพื้นที่ทำกิน และลักลอบตัดไม้ในป่าที่ไม่ได้รับสัมปทานอีกด้วยทำ ให้เกิด ผลกระทบที่สำคัญต่อสังคมมานิ ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 พื้นที่บริเวณเทือกเขาบรรทัดถูกใช้เป็นฐานที่มั่น ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีส่วนทำ ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในสังคมมานิ ในปี พ.ศ. 2525 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยสลายตัว ทำ ให้ชาวบ้านบุกรุกป่าเข้าไปจับจองเป็นพื้นที่ทำกิน ล่าสัตว์ และหาของ ป่ามากยิ่งขึ้น จากการศึกษาการใช้ประโยชน์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือก เขาบรรทัดของกรมป่าไม้เปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2518 กับ พ.ศ. 2541 พบว่ามีพื้นที่ป่าลดลงถึงร้อยละ 15.76 ทำ ให้ชาวมานิสูญเสียแหล่งอาหารที่ สำคัญ จึงต้องอพยพเข้าไปในป่าลึกยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความสัมพันธ์กับ ชาวบ้านมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนสินค้า ของป่าระหว่างกัน ทำ ให้มานิต้อง ปรับวิถีการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเพื่อให้ดำรง ชีวิตอยู่ได้ ปัจจุบันมานิกลุ่มต่างๆ จึงมีรูปแบบการดำรงชีวิตที่หลากหลาย มี ทั้งที่มีวิถีชีวิตแบบสังคมเมือง กึ่งสังคมเมือง และที่ยังใช้ชีวิตแบบเดิมที่ต้อง เคลื่อนย้ายอยู่ในป่า 2. วิถีชีวิต ความเป็นอยู่และสภาพสังคมของมานิ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ เป็นกลุ่มชนที่ยังดำรงชีวิตด้วยวัฒนธรรมหาของป่า ล่าสัตว์ (hunting-gathering culture) และดำ เนินชีวิตอยู่อย่างกลมกลืน กับธรรมชาติ โดยมีป่าเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ อาหารหลักของมานิได้แก่ อาหารประเภทแป้งจากมันป่าหรือกลอยชนิดต่างๆ นอกจากนี้ มานิยังล่า สัตว์มาเป็นอาหาร เช่น ลิง ค่าง หมูป่า เต่า หมูหริ่ง และกระรอก การปรุง อาหารก็มีเพียงการปิ้ง การย่าง หรือการต้ม เท่านั้น 39 39 ปัจจุบันพื้นที่ป่าในภาคใต้ของไทยลดลงไปมากทำ ให้อาหารขาดแคลน ลงด้วย ดังนั้นการหาของป่าล่าสัตว์เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอต่อสมาชิก ในกลุ่ม ผู้นำกลุ่มจึงจำ เป็นที่จะต้องไปรับจ้างชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงเพื่อ แลกอาหารมาเลี้ยงดูสมาชิกในกลุ่ม แต่ผลตอบแทนที่ได้ก็มักจะไม่คุ้มค่าที่ ได้ลงแรงไป เพราะถูกชาวบ้านโกงหรือเอาเปรียบ เนื่องจากชนกลุ่มนี้ยังไม่ ค่อยรู้จักการใช้เงินในการแลกเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมดังกล่าว ทำ ให้มานิในปัจจุบันเริ่มรู้จักหุงข้าวและการต้มแกงที่มีวัตถุดิบและเครื่อง ปรุงที่หลากหลาย จากการที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวบ้านพื้นราบมากขึ้น ทำ ให้มานิบางกลุ่มต้องออกมาจากป่าเพื่อรับจ้างทำงานแลกเงิน เช่น รับจ้าง กรีดยาง แบกไม้ ถางป่า เพื่อนำ เงินมาซื้ออาหาร เสื้อผ้า และสิ่งของต่างๆ ที่เริ่มเข้ามามีอิทธิพลกับมานิ ปัญหาสำคัญที่ยังคงมีอยู่ก็คือการเอารัดเอา เปรียบค่าแรง หรือของป่าที่นำ มาแลกเปลี่ยนนั้นได้ราคาที่ไม่ยุติธรรมและ ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปนี้ทำ ให้ชาวมานิ เริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบหาของป่า ล่าสัตว์ มาเป็นวิถีชีวิตแบบกึ่งสังคมเมือง และเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว มานิบางกลุ่มที่ ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตเหล่านี้ จึงหนี เข้าป่าลึก อีกทั้งมีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มานิ บางส่วนจึงได้อพยพไปอยู่ที่ประเทศมาเลเซียที่ยังมีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์อยู่ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาเปลี่ยนวิถีการดำ รงชีวิตของชาวมานิจนเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่มานิก็ยังคงมีวิถีชีวิตที่ยังสัมพันธ์กับป่า ไม่ว่าจะ เป็นอาหารที่หามาจากป่า ที่อยู่อาศัย พิธีกรรม ตลอดจนการใช้สมุนไพร ที่ทำ ให้สามารถดำ รงชีวิตอยู่ในป่าได้อย่างกลมกลืน ในอดีตนั้นมานิจะนำ เปลือกไม้ ใบไม้บางชนิดมาใช้นุ่งห่มปกปิดร่างกาย ส่วนมากจะเปลือยท่อน บนทั้งหญิงและชาย ส่วนเด็กไม่สวมอะไรเลย ปัจจุบันชาวมานิรับวัฒนธรรม มาจากสังคมเมือง ผู้ชายสวมเสื้อ นุ่งโสร่ง กางเกงหรือผ้าขาวม้า ผู้หญิงสวม เสื้อ นุ่งผ้าถุง กระโปรง หรือกางเกง ส่วนเด็กมีบ้างที่ไม่สวมเสื้อผ้า บางครั้ง 40 40 ในกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวของชาวมานิบางกลุ่ม ยังรู้จักการแต่งกายสวยงาม รู้จัก การใช้เครื่องสำอาง หรือเครื่องประดับที่ได้มาจากชาวบ้าน เป็นต้น จากการลงพื้นที่เพื่อสำ รวจและศึกษากลุ่มชาติพันธุ์มานิในเขตเทือก เขาบรรทัด ผู้เขียนสามารถจำแนกสภาพทางสังคมของชุมชนมานิในเทือก เขาบรรทัดโดยใช้เกณฑ์พัฒนาการด้านสังคม และรูปแบบเศรษฐกิจการ ดำ เนินชีวิตได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 2.1 กลุ่มอพยพเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย หาของป่า-ล่าสัตว์แบบดั้งเดิม(mobility forager) กลุ่มชนมานิที่มีวิถีชีวิตวัฒนธรรมแบบนี้ เป็นกลุ่มที่ยังดำรงชีพเหมือนกับที่บรรพบุรุษดำรงมาแต่ครั้งบรรพกาล การสร้างเพิงเล็กๆ เป็นที่อยู่อาศัยแบบชั่วคราวด้วยพืชตระกูลปาล์มที่หาได้ในบริเวณนั้น อาหารก็ได้มาจากมันป่า และใช้ลูกดอกอาบยาพิษในการล่าสัตว์ เร่ร่อนหากินไปในเขตป่าที่อุดม สมบูรณ์ มีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มชนภายนอกน้อยมาก เช่น กลุ่มเฒ่าแช่มบ้านภูผาเพชร อำ เภอมะนัง จังหวัดสตูล, กลุ่มเฒ่าชา บ้านราวปลา อำ เภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล, กลุ่มเฒ่าเปียว บ้านทับทุ่ง อำ เภอละงู จังหวัดสตูล2.2 กลุ่มกึ่งสังคมชุมชน (semi-sedentary)กลุ่มมานิที่เป็นกลุ่มกึ่งสังคมชุมชน คือกลุ่มที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากแบบดั้งเดิมบ้าง เนื่องจากถูกบีบคั้นจากสภาพป่าที่ขาดความอุดม สมบูรณ์ จึงได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มคนภายนอกเพื่อความอยู่รอดของ กลุ่ม มานิกลุ่มนี้จะดำรงชีวิตด้วยการหาของป่ามาขาย เช่น สัตว์ป่าราคาแพงน้ำผึ้ง สะตอ กล้วยไม้ป่า หรือสมุนไพรบางชนิด เมื่อชาวมานินำ มาขายก็จะ นำ เงินไปซื้อข้าวสาร เนื้อหมู ขนม บุหรี่ และมานิมีการหาหัวมันป่าและล่า สัตว์มากินเองบ้าง มีการตั้งบ้านเรือนที่ถาวรขึ้น มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข แต่ยังไม่รู้จักการเกษตรหรือการเพาะปลูกใดๆ กลุ่มชนที่มีลักษณะวิถีชีวิต แบบดังกล่าวนี้ มีแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก โดยปัจจัย ที่ส่งผลดังกล่าวคือสภาพป่าที่ขาดความอุดมสมบูรณ์กับการที่จำ
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

20.00 10.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้มาลาเรีย (ร้อยละ)

30.00 10.00
3 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหมอกควันไฟใหม้ป่า

การสามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหมอกควันไฟใหม้ป่า(ร้อยละ)

80.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,248.00 0 0.00
20 เม.ย. 67 - 29 มิ.ย. 67 กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย และการป้องกันควบคุมไฟป่า 0 21,248.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มานิมีความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกโรคไข้มาลาเรีย และการควบคุมไฟป่า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2566 00:00 น.