กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกเพื่อหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567
รหัสโครงการ 67-L7252-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 26 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 95,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัณณิตา ขุนพรหม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุภาวดี จารุเศรษฐี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็ก มีเป้าหมายสูงสุดคือการดำเนินงาน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสม ตามวัย เพราะถ้าเด็กซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ มีคุณภาพย่อมเป็นพื้นฐานต่อคุณภาพของประชากรใน วัยอื่นๆ ตามมา ดังนั้นการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะสามารถคาดการณ์ถึงอันตรายต่างๆจากการตั้งครรภ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า หรือสามารถค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถป้องกันและเตรียมรับแก้ไขสถานการณ์ได้เหมาะสมทันท่วงที จะทำให้สามารถควบคุมหรือขจัดหรือลดอันตรายต่อมารดาและทารกลงได้ ดังนั้นในการดูแลผู้ตั้งครรภ์ ๘ ครั้งคุณภาพ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกจึงเป็นรูปแบบการดูแลผู้ตั้งครรภ์ที่ต้องมีการคัดกรองผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยแบบคัดกรองเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรกและทุกครั้งที่มาฝากครรภ์ ถ้าพบว่าผู้ตั้งครรภ์รายใดมีภาวะเสี่ยงจะต้องส่งพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย ถ้าพบภาวะเสี่ยงสูงต้องได้รับการดูแลตามรูปแบบหรือแนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อไป การส่งเสริมและป้องกันแก้ไขภาวะโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์ก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ต้องมีการเฝ้าระวังภาวะภาวะโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการที่ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ทันท่วงทีก่อนที่จะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อันส่งผลให้คลอดทารกที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง น้ำหนักไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ตามเกณฑ์มาตรฐาน มีการเจริญเติบโตดีตามศักยภาพ สติปัญญาดี ลดอัตราการป่วยตายและลดภาระของโรคเรื้อรัง ลดผลเสียต่อรุ่นลูกหลาน ตลอดจนการส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงดูทารกด้วยนมมารดาเพียงอย่างเดียว อย่างน้อย ๖ เดือน เพื่อเป็นการสร้างรากฐานสายใยรักในครอบครัว เป็นการสร้างกลุ่มประชากรที่มีคุณภาพต่อไป งานศูนย์บริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสะเดา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับความรู้และการดูแลทันทีที่ตั้งครรภ์ด้วยการฝากครรภ์ทันทีตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การส่งเสริมภาวะโภชนาการ แก้ไขปัญหาโภชนาการในขณะตั้งครรภ์และติดตามให้มารดาเลี้ยงดูทารกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดประจำปี ๒๕๖๗ ขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖ และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๑๓ พ.ศ.๒๕๕๒ ส่วน ๓ หน้าที่ของเทศบาล มาตรา ๕๔ (๔) ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก และ (๗) จัดทำกิจกรรมซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ให้สมบูรณ์แข็งแรง

 

2 ๒. เพื่อส่งเสริมและป้องกันปัญหาโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์

 

3 ๓. เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือน เป็นการส่งเสริมสายใยรักแห่งครอบครัว

 

4 ๔. เพื่อสร้างเครือข่ายและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็ก ในพื้นที่รับผิดชอบ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนเตรียมการ         ๑. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ         ๒. ประสานงานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ   ๓. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนดำเนินการ ๑. ประชาสัมพันธ์โครงการฯ         ๒. อบรมให้ความรู้ ตัวแทนอสม.แต่ละชุมชนจำนวน ๓๐ คนและมารดาที่ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการฯจำนวน๓๐คน เรื่องสุขภาพหญิงตั้งครรภ์มารดาหลังคลอดและทารกและชี้แจงแนวทางการทำงานและขอความร่วมมือในการค้นหา ติดตามเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย   ๓. ติดตามกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ขึ้นทะเบียนเพื่อติดตามภาวะสุขภาพ และป้องกันแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ
  ๔. ค้นหาหญิงตั้งครรภ์ด้อยโอกาสหรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงด้านโภชนาการเข้าร่วมโครงการฯ และชี้แจงข้อตกลงระหว่างเทศบาลกับหญิงตั้งครรภ์ด้อยโอกาสหรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงด้านโภชนาการ เพื่อรับการสนับสนุนไข่ไก่สด ๓๐ ฟองและนมสดสเตอริไลซ์ จำนวน ๑ โหล/เดือน ซึ่งกลุ่มเป้าหมายจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้   ๔.๑ มีชื่อตามทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลเมืองสะเดา (อย่างน้อย ๖ เดือน นับถึงวันขึ้นทะเบียน)และพักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลจริง
  ๔.๒ เป็นหญิงตั้งครรภ์กลุ่มด้อยโอกาสหรือมีปัญหาเสี่ยงภาวะทุพโภชนาการ   ๔.๒.๓ หญิงตั้งครรภ์ก่อนตั้งครรภ์มีดัชนีมวลกาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม.มีความรู้และติดตามให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์
          ๒. หญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ครบตามเกณฑ์มาตรฐาน
          ๓. มารดาหลังคลอดและทารกปลอดภัยจากการคลอด และทารกแรกคลอดมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม           ๔. มารดาเลี้ยงดูทารกด้วยนมมารดาเพียงอย่างเดียว อย่างน้อย ๖ เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2566 09:11 น.