กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านต้นไทร
รหัสโครงการ 67-3357-02-015
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านต้นไทร (นางสาวฤทัยทิพย์ เพชรนวล 0872900351)
วันที่อนุมัติ 8 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 พฤษภาคม 2567 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,255.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฤทัยทิพย์ เพชรนวล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 23 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 4 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

จำนวนนักเรียนของโรงเรียนบ้านต้นไทร28 คน จำนวนนักเรียนที่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ (ุ60 นาที/วัน) 10 คน

36.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพร่างกายนับเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก และดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง เพื่อการมีสุขภาพที่ดี แต่ทุกวันนี้ประเทศไทยกลับมีปัญหาด้านสุขภาพร่างกายเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเด็กไทยในวันนี้น่าห่วง เพราะต้องเผชิญปัญหาอ้วน เตี้ย ผอม ส่งผลให้เรียนรู้ช้า ภูมิต้านทานต่ำ เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เด็กที่มีภาวะอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ เป็นต้น สาเหตุสำคัญส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมโภชนาการที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในด้านการจัดกิจกรรมออกกำลังกายของนักเรียน โรงเรียนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับนักเรียนตอนเย็นก่อนเลิกเรียน แต่ยังขาดความต่อเนื่อง และยังได้ไม่ครบ 60 นาทีต่อวัน ครูไม่ได้บูรณาการด้านการออกกำลังกายในการจัดการเรียนการสอนในสาระต่างๆเท่าที่ควร เนื่องจากให้ความสำคัญกับด้านการเรียนมากกว่าการทำกิจกรรม
การที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็ก ได้ขยับร่างกาย เล่นกีฬา เพื่อลดปัญหาเด็กอ้วนนั้น โรงเรียนจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการออกกำลังกายของนักเรียน โดยการนำกิจกรรมที่มีความหลากหลายและมีความดึงดูดใจผู้เรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากที่สุด การจัดหาอุปกรณ์กีฬาให้เพียงพอสำหรับการส่งเสริมการออกกำลังกายของนักเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ออกกำลังวันละ 60 นาที รวมถึงการสร้างครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ ประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

36.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,255.00 0 0.00
24 พ.ค. 67 กิจกรรมที่1 ประชุมกลุ่มเป้าหมาย 0 1,395.00 -
24 พ.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 จัดกิจกรรมทางกายตามแผนงาน 0 8,860.00 -
16 - 30 ส.ค. 67 การติดตามประเมินผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 85
นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น อัตราการเจ็บป่วยลดลง
โรงเรียนสามารถนำข้อมูลการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน ใช้พัฒนา รวมถึงให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ได้ตามความเหมาะสม นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินสมถภาพทางกายระดับปานกลางขึ้นไป อย่างน้อยร้อยละ 70

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ต.ค. 2566 13:18 น.