กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้ทัน ตรวจเร็ว ห่างไกล มะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โต๊ะเด็ง
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.โต๊ะเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโต๊ะเด็ง อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.116,101.849place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน ปัญหาสุขภาพที่ประชาชนไทยต้องเผชิญ คือ โรคไม่ติดต่อซึ่งเป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมพันธุกรรมสารเคมี ฯลฯจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยพบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีไทยรองจากมะเร็งเต้านม จากศูนย์ข้อมูลข่าวสารจากองค์กรอนามัยโลก ได้รายงานในปี พ.ศ. 2551ประเทศไทยมีประชากรสตรีที่เสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก๒๖.๐๙ ล้านคน มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ ๙,๙๙๙ คน เสียชีวิต ๕,๒๑๖ คน หรือประมาณร้อยละ ๕๓ ถ้าคิดเป็นวันแล้วจะมีสตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยวันละ๑๔ คน วิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุดของมะเร็งปากมดลูก คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ เพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลามโดยให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ ถ้าได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องการฝึกทักษะในการสังเกต และการตรวจคัดกรองค้นหาความผิดปกติ ทำให้สามารถได้รับการดูแล และรักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกซึ่งมีโอกาสหายขาดได้ จากการดำเนินงานในปีงบประมาณ ๒๕๕๘พบว่าได้รับการตรวจPapsmearในสตรีอายุ ๓๐ –๖๐ปี มีเพียงร้อยละ ๐.๕๗ และในปี ๒๕๕๙ พบว่าได้รับการตรวจ Papsmear เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๒.๕๐ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็งอำเภอสุไหงปาดีจังหวัดนราธิวาส ได้ตระหนักในความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างมากจึงได้คิดและจัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก งบประมาณ ๒๕๖๐ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. สำรวจ รวบรวมข้อมูลในประชากรกลุ่มเป้าหมาย ๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓. ดำเนินการตามโครงการ ๓.๑ ทำบัตรเชิญเพื่อให้ความรู้ในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกที่ถูกต้องแก่อาสาสมัครสาธารณสุขหญิง และสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ในกลุ่มเป้าหมาย ๓.๒ จัดอบรมให้ความรู้ในการตรวจหามะเร็งปากมดลูกที่ถูกต้องแก่อาสาสมัครสาธารณสุขหญิง และสตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี ในกลุ่มเป้าหมาย ๓.๓ จัดทำทะเบียนการตรวจคัดกรองหาผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก ๓.๔ ดำเนินการคัดกรองและส่งสไลด์ไปตรวจโรงพยาบาลสุไหงปาดี ๓.๕ ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้รับการรักษาได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ๔. ติดตามสรุป ประเมินผลการปฏิบัติงาน และรายงานผลการดำเนินงาน ๕. ปรับปรุงพัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน/โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อาสาสมัครสาธารณสุขหญิงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกที่ถูกต้อง และสามารถเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนในชุมชน ๒. สตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีความตระหนักถึงอันตรายจากโรคมะเร็งปากมดลูก ให้ความสนใจในการเข้ารับการตรวจคัดกรองค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและได้รับการตรวจคัดกรอง อย่างมีคุณภาพจากสถานบริการสาธารณสุขทุกเครือข่าย ๖. ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกมีโอกาสได้รับการรักษาหายขาด และลดอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ ๗. ผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกได้รับการบำบัด รักษาและเข้าสู่ระบบบริการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและครบถ้วน ตลอดจนได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2559 14:06 น.