กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 67-L1520-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปง
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 ตุลาคม 2566 - 10 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 10 กันยายน 2567
งบประมาณ 44,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดเชื้อที่มียุงลายเป็นพาหะ ลักษณะสำคัญของโรคคือ ไข้ลดลงอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยจะมี อาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น บางรายมีอาการปวดท้องมากก่อนจะมีอาการช็อค ถ้าการรักษาไม่ทันผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะ Profound shock และเสียชีวิตได้ใน 24 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีอาการช็อค โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ –๑๔ ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัด ลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและ ร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ตำบลอ่าวตง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรค ไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่ง พอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้น ได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
      สถานการณ์โรคโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง พบว่า ตำบลที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ ตำบลอ่าวตง มีอัตราป่วยเท่ากับ 521.95 ต่อประชากรแสนคน รองลงมา คือ ตำบลวังมะปรางเหนือ, ตำบลเขาวิเศษ, ตำบลท่าสะบ้า และตำบลวังมะปราง โดยมีอัตราป่วยเท่ากับ 311.67, 208.13, 184.23 และ 141.12 ต่อ ประชากรแสนคน ตามลำดับ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้เลือดออกรับการตรวจเพื่อการวินิจฉัย

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้เลือดออกรับการตรวจในการวินิจฉัย

2 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน Generation ที่ ๒

ร้อยละ ๘๐ ของหมู่บ้านสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน Generation ที่ ๒

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 44,750.00 0 0.00
17 ต.ค. 66 ติดตามเฝ้าระวังความชุกของลูกน้ำยุงลายทุกเดือน โดย อสม.ในพื้นที่ และออกดำเนินการ สอบสวนและควบคุมโรคเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อภายในพื้นที่ โดยทีม SRRT รพ.สต.บ้านในปง 0 30,500.00 -
1 พ.ย. 66 - 10 ก.ย. 67 ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ 0 300.00 -
1 พ.ย. 66 - 10 ก.ย. 67 กิจกรรมการคัดกรองเชิงรุกด้วย เครื่อง/Rapid test 0 10,700.00 -
1 พ.ย. 66 - 10 ก.ย. 67 กิจกรรมการการให้ความรู้โรคไข้เลือดออก 0 3,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการป่วย/ตาย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง
  2. ประชาชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมมือกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนและบ้านเรือนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  3. ประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 10:01 น.