กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมประสิทธิภาพบริหารจัดการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก ประจำปี 2567
รหัสโครงการ L5248-04-2567
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก
วันที่อนุมัติ 25 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 110,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุดม รัตนะเพ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้องค์การบริหารส่วนตำบลปริก โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก ได้มีกิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมภาคประชาชน โดยสนับสนุนงบประมาณในด้านการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรคติดต่อและไม่ติดต่อ การให้บริการรักษาพยาบาลในระดับปฐมภูมิ รวมถึงการฟื้นฟูในกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นต้น การดำเนินดังกล่าวขับเคลื่อนโดยคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ในการพิจารณาโครงการ/แผนงาน/กิจกรรม รวมถึงการบริหารจัดการเงินทุน และระบบกองทุนให้มีความโปร่งใส เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปริก ในการนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)กำหนดให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล มีการวางแผนการดำเนินงานโดยใช้งบประมาณ หมวด 4 การบริหารจัดการกองทุนและพัฒนาระบบบริหารจัดการ ร้อยละ 15 ของรายรับปีงบประมาณ 2566 ดังนั้น เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ดำเนินการได้ตามข้อตกลงของคณะกรรมการและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อกำหนด ของสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนฯจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล ให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล ที่ดีในอนาคตได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริกเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
  • จัดประชุมพิจารณาโครงการและจัดทำแผนสุขภาพตำบล
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 4 มื้อ ๆ ละ 25 บาท 35 คน      เป็นเงิน 3,500.-บาท     - ค่าอาหารกลางวัน 2 มื้อๆ ละ 60 บาท 35 คน                        เป็นเงิน  4,200.-บาท
- ค่าตอบแทนในการประชุมกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และพี่เลี้ยงกองทุนฯ 2 ครั้ง ๆ ละ 300 บาท 28 คน เป็นเงิน 16,800.-บาท กิจกรรมที่ 2 ค่าอบรมพัฒนาศักยภาพกรรมการ/อนุกรรมการ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง     - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท 35 คน      เป็นเงิน  1,750.-บาท     - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท 35 คน                        เป็นเงิน  2,100.-บาท
    - ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชม.ๆละ 600 บาท                          เป็นเงิน  3,600.-บาท
    - ค่าเดินทางในการอบรมคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน       และพี่เลี้ยงกองทุนฯ 1 ครั้ง ๆ ละ 200 บาท 28 คน                    เป็นเงิน  5,600.-บาท
    - ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับอบรมคณะกรรมการ (กระเป๋า สมุด ดินสอ ปากกาเป็นต้น)    เป็นเงิน 10,000.-บาท
กิจกรรมที่ 3 ค่าจัดประชุมจัดทำแผนสุขภาพตำบล/กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ ปี 2566    กรรมการ/อนุกรรมการ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท 35 คน      เป็นเงิน 1,750.-บาท     - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท 35 คน                        เป็นเงิน 2,100.-บาท
    - ค่าตอบแทนในการประชุมกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และพี่เลี้ยงกองทุนฯ 1 ครั้ง ๆ ละ 300 บาท 28 คน  เป็นเงิน 8,400.-บาท กิจกรรมที่ 4 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ได้แก่ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก และค่าพาหนะเดินทางสำหรับ กรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล  เป็นเงิน  7,200.-บาท กิจกรรมที่ 5 ค่าวัสดุสำนักงาน/ครุภัณฑ์ใช้ในสำนักงานเลขานุการกองทุนฯ
      - ค่าวัสดุสำนักงาน                                          เป็นเงิน 13,000.-บาท       - ครุภัณฑ์สำนักงาน                                        เป็นเงิน 25,000.-บาท
- อื่นๆที่เกี่ยวข้องในโครงการ (การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่างๆ)                  เป็นเงิน  5,000.-บาท         ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การดำเนินงานกองทุนฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ
    1. ผู้ได้รับการประชุมชี้แจงมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามนโยบายของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล
    2. คณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลปริก และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถร่วมพิจารณาโครงการ หรือกิจกรรมที่นำเสนอและพิจารณาอนุมัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ สปสช.กำหนด
    3. เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้ระเบียบ/แนวทางปฏิบัติใหม่ๆให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 11:41 น.