กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา
รหัสโครงการ 67-L1520-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวตง
วันที่อนุมัติ 16 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 ตุลาคม 2566 - 10 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 10 กันยายน 2567
งบประมาณ 35,405.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี เลี่ยนกัตวา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต การพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นภารกิจสำคัญ ที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะตองตระหนักและให้ความสนใจ การนำเด็กไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ทำให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งพฤติกรรมเด็กที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากในโรงเรียน ส่งผลต่อการแพร่กระจายโรคได้ง่าย เช่น การเล่น การคลุกคลีใช้ของร่วมกัน ทำให้ปนเปื้อนและแพร่กระจายเชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่าย หากเด็กเจ็บป่วยก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก รวมทั้งการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานศึกษาปลอดโรคติดต่อ ซึ่งโรคติดต่อที่พบบ่อยในสถานศึกษา ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus) และโรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)
สถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 10 ตุลาคม 2566 มีรายงานผู้ป่วย 248,322 ราย อัตราป่วย 375.50 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 8 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 5 – 14 ปี จำนวน 22,752 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0 - 4 ปี จำนวน 39,851 ราย สำหรับภาคใต้ พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 23,014 ราย พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 5 – 14 ปี จำนวน 8,532 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 0 - 4 ปี จำนวน 5,167 ราย สำหรับจังหวัดตรัง พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ จำนวน 1,254 ราย อัตราป่วย 196.81 ต่อแสนประชากร (กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2566)
สำหรับตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 28 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 53 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 493.99 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 20 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 5 - 9 ปี
สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (Respiratory Syncytial Virus) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม –2 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยติดเชื้อ RSV 270 ราย จากจำนวนตัวอย่างส่งตรวจ 5,110 ราย
(ร้อยละ 5.28) โดยตรวจพบเชื้อมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี 118 ราย (ร้อยละ 43.70) รองลงมา คือ อายุ 2 – 5 ปี 117 ราย (ร้อยละ 43.33) และอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป 35 ราย (ร้อยละ 12.96)
มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ข้อมูลจากการเฝ้าระวังพบว่าเชื้อ RSV มักจะเป็นสาเหตุของการเกิดปอดอักเสบรุนแรงในเด็กและผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยมักพบเชื้อไวรัส RSV ได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับฤดูกาลระบาดของไข้หวัดใหญ่ สถานการณ์ของโรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่ 1 มกราคม – 1 ตุลาคม 2566 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 21,192 ราย อัตราป่วย 705.92 ต่อแสนประชากร ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มที่พบมากที่สุดคือ 0 – 2 ปี (ร้อยละ 45.67) อายุ 3 – 5 ปี (ร้อยละ 45.98) และมากกว่า 5 ปี (ร้อยละ 8.35) จากรายงานผู้ป่วยย้อนหลัง 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565) พบผู้ป่วยมือ เท้า ปาก ตลอดทั้งปี พบผู้ป่วยมากขึ้นในช่วงเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา เนื่องจากเด็กเข้ามาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว (กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2566) สำหรับตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 28 กันยายน 2566 พบผู้ป่วยโรคมือ เท้า ปาก จำนวนทั้งสิ้น 18 ราย
คิดเป็นอัตราป่วย 167.77 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 14 ราย รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี จากสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากมีภูมิต้านทานของโรคต่ำส่งผลให้เด็กติดเชื้อต่างๆได้ง่าย การเจ็บป่วยในเด็กอาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มป่วยอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อผู้ปกครองที่ต้องหยุดงานเพื่อดูแลเด็กทำให้ขาดรายได้และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ดังนั้น การป้องกันควบคุมโรค ที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการลดและแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่พบได้บ่อย ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเด็กเล็ก องค์การบริการส่วนตำบลอ่าวตงจึงได้จัดโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในถสานศึกษาในพื้นที่ตำบลอ่าวตงขึ้น เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการป้องกันตนเองจากโรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นแก่เด็ก ผู้ปกครอง ครูผู้สอน และครูผู้แลเด็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี และโรคมือ เท้า ปาก สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่
โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี และโรคมือ เท้า ปาก

2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถล้างมือ อย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 สามารถล้างมืออย่างถูกวิธี 7 ขั้นตอนได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,405.00 0 0.00
19 ต.ค. 66 - 2 ก.พ. 67 บรรยายความรู้และส่งมอบสื่อประชาสัมพันธ์ 0 35,405.00 -

h

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ โรคติดเชื้อไวรัสอาร์เอสวี และโรคมือ เท้า ปาก ที่อาจเกิดขึ้นในสถานศึกษา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2566 14:06 น.