กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน(ศสม.กำปงบารู)
รหัสโครงการ 60-L7885-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศสม.กำปงบารู
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 67,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัตติกร ยาวอหะซัน และคณะจนท.ศสม.กำปงบารู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียน ซึ่งเป็นประชากรที่มีความสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสติปัญญา ประกอบกับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มีผลต่อการกำหนดลักษณะพฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กวัยนี้จะต้องมีภาวะโภชนาการที่ดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ได้กำหนดเป้าหมายให้เด็ก อายุ 0–72 เดือน มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 85 จากผลการดำเนินงาน ของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองกำปงบารู ในปีงบประมาณ 2559 พบว่า เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 4.64ซึ่งเป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งยังมีเด็กจำนวนหนึ่งที่เป็นปัญหา สาเหตุของปัญหาดังกล่าวเนื่องจากผู้ปกครองเด็กขาดความรู้ด้านโภชนาการ มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งผู้ปกครองมีลูกมาก ไม่มีเวลาดูแลลูก เพราะฉะนั้นการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กจำเป็นที่ผู้ปกครองจะต้องมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กทางศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองกำปงบารู จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ในเด็กอายุ 0-72 เดือนในเขตความรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองกำปงบารู เพื่อให้แก้ไขปัญหาดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กสามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับวัยให้แก่เด็กที่ขาดสารอาหารได้อย่างถูกต้อง

ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการจัดหาอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมแก้เด็ก

2 เพื่อให้เด็กขาดสารหารมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เด็กขาดสารอาหารมีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อย

3 เพื่อค้นหาเด็กขาดสารอาหารรายใหม่ เพื่อติดตามและดูแลเด็กขาดสารอาหารทั้งรายใหม่และรายเก่าอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

เด็กขาดสารอาหารได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีน้ำหนักเพิ่ม

4 เพื่อค้นหาสาเหตุของภาวะทุพโภชนาการในเด็กที่ขาดสารอาหาร

ผู้ปกครองเด็กและเจ้าหน้าที่ทราบถึงปัญหาที่ทำให้เด็กขาดสารอาหารและหาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. เตรียมความพร้อมด้านการให้บริการการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของเด็ก 0-72เดือน เพื่อสำรวจข้อมูลเด็กในชุมชน ในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองกำปงบารู เพื่อค้นหาเด็กที่มีอยู่จริง
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบพื้นที่เป้าหมายชั่งน้ำหนักเด็กในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กพร้อมแปรผล ปีละ 4 ครั้ง (พ.ย./ก.พ./พ.ค. และ ส.ค.)
  4. โรงเรียนในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองกำปงบารู ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง พร้อมแปลผล ปีละ 2 ครั้ง (ม.ค.และ ก.ค.)
  5. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ติดตามเยี่ยมบ้านให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กและชั่งน้ำหนักเด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ทุกคน เดือนละ1 ครั้ง พร้อมทั้งจ่ายอาหารเสริม (นม)
  6. ประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มย่อยแก่ผู้ปกครองเด็กเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาเด็กขาดสารอาหาร จำนวน 1 ครั้ง
  7. นำเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ น้อยกว่าเกณฑ์ พบแพทย์ที่ PCU เพื่อค้นหาสาเหตุและให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมทุก 3 เดือน
  8. จ่ายยาเสริมวิตามินให้เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์รับประทาน
  9. สาธิตอาหารและจัดเลี้ยง แก่ผู้ปกครองเด็กขาดสารอาหารในชุมชน ชุมชนละ 1 ครั้ง /ปี
  10. ประเมินผลการดำเนินงานโดยเปรียบเทียบผลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาต่อไป
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการจัดหาอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมแก่เด็ก
  2. เด็กขาดสารอาหารมีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วยบ่อย
  3. เด็กขาดสารอาหารได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
  4. ผู้ปกครองเด็กและเจ้าหน้าที่ได้ทราบถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2559 15:41 น.