โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วย/ผู้เสี่ยงเบาหวาน/ความดัน/หลอดเลือดสมองและโรคอ้วน(ศสม.กำปงบารู)
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วย/ผู้เสี่ยงเบาหวาน/ความดัน/หลอดเลือดสมองและโรคอ้วน(ศสม.กำปงบารู) |
รหัสโครงการ | 60-L7885-1-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศสม.กำปงบารู |
วันที่อนุมัติ | 20 ธันวาคม 2559 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 28,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางโนรีซัน รอเซะ และคณะจนท.ศสม.กำปงบารู |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 160 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีผลกระทบมาจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกและการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การแข่งขันทางการตลาด การสื่อสารและการคมนาคมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนไทยเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากในอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ในปัจจุบันและในอนาคต ปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคมสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมมากขึ้นตามลำดับจะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เป็นปัญหาเช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกายพฤติกรรมความปลอดภัย การใช้ยาและสารเสพติด ปัญหาสุขภาพจิต และพฤติกรรมเสี่ยงจากการประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ดังนั้นการดำเนินการในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จำเป็นจะต้องพัฒนาประชาชนให้มีองค์ความรู้ ทักษะที่จำเป็น และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทั้งระดับบุคคลครอบครัว และชุมชนครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจำเป็นจะต้องส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขของประเทศ
นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรค มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนให้การดำเนินงานช่วยคนไทยห่างไกลโรค ให้บรรลุผลสำเร็จประชาชนมีความรู้ และทักษะในการดูแลตนเอง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้หลัก 3 อ.เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน หลังการตรวจคัดกรองความเสี่ยงเพื่อ ค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองกำปงบารู จึงได้จัดทำโครงการรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง/โรคหลอดเลือดสมองและโรคอ้วนเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ภาวะเสี่ยงในปีงบประมาณ 2560
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ม.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 | ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง | 160 | 0.00 | - | ||
1 ม.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดลือดสมองและโรคอ้วน | 160 | 0.00 | - | ||
1 ม.ค. 60 - 30 ก.ย. 60 | อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง โดยใช้หลัก 3อ.เป็นหลัก เพื่อให้มีสุขภาวะในทุกด้าน | 160 | 27,200.00 | - | ||
15 ม.ค. 61 | จัดทำสื่ออุปกรณ์ เพื่อใช้ในการจัดอบรมและประชาสัมพันธ์ | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 480 | 27,200.00 | 0 | 0.00 |
- จัดทำแผนการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง การปฏิบัติตัว ทำกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมเช่น เทศบาลผู้นำชุมชน อสม.และภาคีเครือข่าย
- ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน
- จัดเตรียมเอกสาร สื่อ/วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินการจัดอบรม
- ติดต่อวิทยากร, อาหารสำหรับการจัดอบรม
- ติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการ
- ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ
- ประเมินผล สรุปผลการดำเนินงาน
- รายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ร้อยละของ ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานป่วยเป็นโรคเบาหวาน น้อยกว่าร้อยละ5
- ร้อยละของ ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง น้อยกว่าร้อยละ 10
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2559 15:48 น.