กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลตะโละกาโปร์ ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L8420-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละกาโปร์
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 51,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนัสรีณี ศรีท่าด่าน
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.897299,101.371563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
40.00
2 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
3.00
3 ระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
50.00
4 ประชาชนในเขตพื้นที่มีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
30.00
5 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทยที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน การระบาดของโรคไข้เลือดมักขึ้นอยู่กับสภาพดิน ฟ้า อากาศและความพร้อมในการเตรียมการรับสถานการณ์ของโรค ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มการะบาดของโรคจะเกิดขึ้นในปีใด จังหวัดปัตตานีถือเป็นนโยบายสำคัญอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดที่จะลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาสาธารณสุขของจังหวัดปัตตานีอีกต่อไป โดยมุ่งเน้นความพร้อมในการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรค และดำเนินการระงับเหตุรำคาญและความชุกของชุมของยุงลายในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในรูปแบบการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอยะหริ่ง เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2566 ที่ผ่านมาอำเภอยะหริ่งได้เผชิญกับปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก ทั้งอำเภอมีจำนวนผู้ป่วยแล้ว 12 ราย อาจเป็นไปได้ว่าเป็นช่วงฤดูฝนทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายได้เป็นอย่างดี ประกอบกับเป็นช่วงปิดเทอมของโรงเรียนต่างๆ ทำให้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในส่วนของตำบลตะโละกาโปร์มีผู้ป่วยในเดือนนี้มาแล้ว 2 ราย ซึ่งถ้าดูแนวโน้มแล้วมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากว่ารอบๆตำบลตะโละกาโปร์ มีจำนวนผู้ป่วยเริ่มระบาดมากขึ้น เช่น ตำบลยามู หนองแรต และแหลมโพธิ์ ล้วนมีจำนวนผู้ป่วยเกิน 5 ราย ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสิรมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกขึ้น เพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีความยั่งยืน โดยสนับสนุนให้ชุมชนสามารถเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ด้วยตนเอง ให้ชุมชนพัฒนาศักยภาพ มีความเข้มแข็ง สามารถวิเคราะห์ปัญหา วางแผน ดำเนินการแก้ไขปัญและประเมินผลการดำเนินการได้ด้วยตนเอง รวมถึงสามารถการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้ระดับหนึ่ง แต่ในพื้นที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกสูง จำเป็นต้องมีมาตรการดำเนินการที่เข้มงวด เพื่อเร่งรัดการควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนด กลยุทธ์ สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินการลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและทำลายตัวเต็มวัย เพื่อตัดวงจรชีวิตพาหะนำโรคให้ลดลงมากที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิ์ภาพการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาความพร้อมของระบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้

1.กลุ่,เป้าหมายมีความรู้ ความสามารถในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่มีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

2.ค่า HI/CI ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (HI ไม่เกินหรือเท่ากับ ร้อยละ10, CI เท่ากับร้อยละ 0)

30.00 50.00
3 3. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

3.จำนวนผู้ป่วยยืนยันโรคไข้เลือดออก ไม่เกินค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง (2552-2566)

5.00 50.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด

3.00 0.00
5 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(ร้อยละ)

40.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 51,000.00 0 0.00
1 ธ.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 ประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 5,950.00 -
1 ธ.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 ค่าวัสดุในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 24,800.00 -
1 พ.ค. 67 - 31 ก.ค. 67 รณรงค์การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 16,500.00 -
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไข้เลือดออก 0 3,750.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ความสามารถในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก 2.ประชาชนให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 3.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลตะโละกาโปร์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2566 11:00 น.