กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ แม่ฟันดีเพื่อลูกน้อยฟันสวย ต.บางขุนทอง ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2484-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกงู
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุนันทาสุขใส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.234,101.967place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 290 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพที่ดี ช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภา่พช่องปากจะส่งผลต่อระบบๆ ของร่างกาย ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพในช่องปากประชาชนให้ปราศจากโรคฟันผุและเหงือกอักเสบ ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดการดูแลช่องปาก มิใช่ีการกำจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ ปัญหาทันตสาธารณสุขที่สำคัญ คือโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบ โดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกกลุ่มอายุของประชาชน จากผลการสำรวจสถานการณ์ทันตสุขภาพในเด็กกลุ่มอายุ 0-3 ปี และ หญิงตั้งครรภ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกงู ปีงบประมาณ 2555-2558 พบว่า อัตราการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเด็กอายุ 0-3 ปี คิดเป็นร้อยละ 93.0,95.2,94.8,89.7 และ 93.6 ตามลำดับ อัตราฟันผุในหญิงตั้งครรภ์คิดเป็นร้อยละ 80.5,76.0,78.0,77.9 และ 76.1 ตามลำดับ การแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขจึงต้องกำหนดแผนจัดให้มีกิจกรรมโครงการสร้างเสริม ป้องกันทันตสุขภาพ เพื่อรองรับเปา้าหมายหลักการของการดูแลสุขภาพช่องปาก คือ การเก็บรักษาฟันไว้เพื่อการใช้งานตลอดชีวิต ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกงู จึงได้จัดทำโครงการแม่ฟันดีเพื่อลูกน้อยฟันสวย เพื่อชาวบางขุนทองฟันดี ปี 2560 ขึ้น เพื่อให้มีความร่วมมือระหว่างเจ่าหน้าที่สาธารณสุข ผุ้ปกครองเด็ก 0-3 ปี และหญิงมีครรภ์ให้มีการสร้างเสริมและรักษาไปพร้อมๆกัน อันจะช่วยลดปัญหาโรคฟันผุ เหงือกอักเสบและส่งเสริมการมีฟันไว้ใช้งานตลอดชีวิตของประชาชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทันตสาธารณสุขของหญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุ 0-3 ปี

 

2 เพื่อให้หญิงมีครรภ์สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-3 ปี สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

4 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคในช่องปาก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ตรวจสุขภาพช่องปากแก่หญิงต้้งครรภ์ และเด็กอายุ 0-3 ปี พร้อมทาฟลูโอไรด์ในเด็กทีมีฟันขึ้นต่อเนือง
  2. ให้บริการทันตกรรมแก่หญิงตั้งครรภ์ที่ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก
  3. อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องดูแลสุขภาพช่องปากให้กับผู้ปกครองและเด็ก
  4. หน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกงุู จัดเจ้าหน้าที่ทันตกรรมพร้อมพยาบาลวิชาชีพหรือเวชปฏิบัติทั่วไป ออกชุมชนไปเยี่ยมบ้านหลังคลอดครั้งที่ 2 ภายใน 15-30 วัน พร้อมให้ความรู้และเทคนิคในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันในเด็ก 0-3 ปี และเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหา
  5. หน่วยบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกงุู จัดทำหน้าที่ทันตกรรมพร้อมพยาบาลวิชาชีพหรือเวชกรรมปฏิบัติทั่วไป ออกชุมชนเยี่ยมแม่ที่มีลูกอายุ 0-3 ปี ที่บ้านและนัดรวมเป็นกลุ่มที่ชุมชน เพื่อให้ความรู้ในการเลี้ยงลูก การให้นมแม่ ดูแลการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ดูแลช่องปากและสอนแปรงฟันเด็กตั้งแต่แรกเกิด และเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาแบ่งเป็นกลุ่มพ่อแม่เด็กอายุ 2 เดือน /อายุ 4 เดื่อน/อายุ 6-12 เดือน/อายุ 1-2 ปี /อายุ 3 ปี
  6. ให้รางวัลแก่หญิงต้งครรภ์ และเด็กอายุ 0-3 ปี ที่มีฟันผุช่องปาก เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ได้รับทันตสุขศึกษาและฝึกทักษะการแปรงฟันร้อยละ 100
  2. หญิงตั้งครรภ์ทีมีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับบริการทันตกรรมตามความจำเป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  3. หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมและฝึกทักษะการทำความสะอาดช่องปากเด็กแรกเกิดไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  4. เด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วานิชร้อยละ 100
  5. ผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี ได้รับทันสุขศึกษาและฝึกทักษะการแปรงฟันให้เด็กไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2559 09:46 น.