กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8302-5-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลมะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 11 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 ตุลาคม 2566 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,060.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนูรูดดีน สูลัยมาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
45.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     ด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-14 ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 15 ตุลาคม 2566 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอระแงะ ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 172 ราย อัตราป่วย 180.00 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต โดยกลุ่มอายุที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มอายุ 15-24 ปี (43 ราย) รองลงมากลุ่มอายุ 25-34 ปี (34 ราย) และกลุ่มอายุ 35-44 ปี (26 ราย) ซึ่งในกลุ่มอายุสูงสุด เป็นกลุ่มเด็กวัยเรียน ตั้งแต่มัธยมปลาย และเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วยถึงเดือนตุลาคม 2566 กับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี พบว่าตั้งแต่เดือนมกราคม มีรายงานการเกิดโรคสูงกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี โดยมีรายงานการเกิดโรคสูงสุดในเดือนกันยายน 28 ราย และเดือนตุลาคม ณ วันที่ 15 ตุลาคม มีรายงานการเกิดโรค 11 ราย ตำบลมะรือโบตก เป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยเกือบทุกปี ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยรายแรกในเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้นและยังเป็นตำบลที่ยังมีผู้ป่วยใน 4 สัปดาห์ล่าสุด วันที่ 18 ตุลาคม จำนวน 6 ราย เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน โรงเรียน มัสยิด ตาดีกา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลมะรือโบตก บูรณาการร่วมกับทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว และหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (Communicable disease control Unit:CDCU) จัดทำโครงการโครงการแก้ปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพ กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

45.00 15.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
30 ต.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว 0 9,350.00 -
30 ต.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 0 11,880.00 -
30 ต.ค. 66 - 31 มี.ค. 67 กิจกรรมลงพื้นที่พ่นหมอกควันปฏิบัติการควบคุมโรค 0 12,830.00 -
รวม 0 34,060.00 0 0.00

1.ระยะเตรียมการ 1.1 ประชุมทีมงานเพื่อแจ้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และเขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ            1.2 ประสานงานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทั้ง 2 แห่ง และประสานวิทยากรจากทีมงาน CDCU ระดับอำเภอ            1.3 ดำเนินการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม 2.ระยะดำเนินการ
1.ประชุมเชิงปฏิบัติการทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว แนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรกาการควบคุมโรคที่ถูกต้อง              2.รณรงค์ เคาะประตูบ้าน ในกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสายผ่าน  คุตบะห์วันศุกร์ แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ แผ่นพับให้ความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก และช่องทางออนไลน์ ในกลุ่มต่างๆ                                                                                  3.ลงพื้นที่พ่นหมอกควันปฏิบัติการควบคุมโรคในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย ด้วยการพ่นสารเคมี และการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พร้อมให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว
3.ติดตามและสรุปผลดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานการควบคุมป้องกันโรคระบาด 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 3. ทีมปฏิบัติการควบคุมโรค มีความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมโรคและสามารถ รับสถานการณ์โรคได้ทันท่วงที 4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน เพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 13:16 น.