กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปี 2567
รหัสโครงการ 67-50087-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว
วันที่อนุมัติ 1 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจิรสิน เสาวธารพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำขาว อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3911 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
8.00
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้ปวดข้อยุงลายระบาด(คน)
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ไข้เลือดออกจากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ในปี พ.ศ.2566 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปีนี้ ตั้งแต่วันที่
วันที่ 1 ม.ค.- 1 มี.ค.66 พบผู้ป่วยจำนวน 6,156 ราย เสียชีวิต 4 ราย กลุ่มอายุที่อัตราป่วยพบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 5-14 ปี, 15-24 ปี และ 0-4 ปี อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชายเป็น 1:1.10 พื้นที่ที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ กรุงเทพฯ, ภาคใต้, ภาคกลาง, ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในตำบลน้ำขาว ปี พ.ศ.2566 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ 8 คน จากช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า เมื่อทาง องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว ได้ดำเนินการจัดทำโครงการฉีดพ่นฝอยละอองกำจัดยุงลาย สถิติที่เกิดขึ้นในพื้นที่มีจำนวนผู้ป่วยลดลง การระบาดที่ลดลง ถือได้ว่าเป็นมาตรการการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่ดี ทั้งนี้ อาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้นำชุมชนช่วยกันการป้องกันโรคดังกล่าวรูปแบบการทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์การร่วมมือกับโรงเรียน วัด ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารกำจัดลูกน้ำ การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด   องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 มาตรา 67 (3) กล่าวว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และมาตรา16(19) ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กล่าวว่า    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ในด้านสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
  ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการกำจัดยุงลายและดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกิดและแพร่ระบาดของโรคอย่างจริงจัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นี้ โดยได้ดำเนินการจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(คน)

8.00 0.00
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้ปวดข้อยุงลายระบาด(คน)

ร้อยละของการแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้ปวดข้อยุงลายระบาด(คน)

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,000.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 31 ธ.ค. 67 สร้างการรับรู้แก่ประชาชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 0 1,000.00 -
1 ก.พ. 67 - 31 ธ.ค. 67 กิจกรรมการฉีดพ่นฝอยละอองเพื่อกำจัดยุงลายเพื่อควบคุม ป้องกันโรคและการป้องกันการแพร่ระบาด 0 29,000.00 -
1 ก.พ. 67 - 31 ธ.ค. 67 กิจกรรมการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและภาชนะน้ำขังเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย 0 15,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ร้อยละบ้านเรือนประชาชนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกและบ้านอื่นในรัศมี 100 เมตรในพื้นที่ตำบลน้ำขาว ได้รับการฉีดพ่นกำจัดยุงลาย และทุกครัวเรือนได้รับทรายอะเบท เพื่อกำจัดลูกน้ำ 2.อัตราการเจ็บป่วยจากโรคไข้เลือดออก และไข้ปวดข้อยุงลายลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 00:00 น.