กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มวัยทำงานด้านการป้องกันเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
รหัสโครงการ 14-61
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2560 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 4,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุจิตราทองสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.35,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อเอดส์ในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน เป็นชายไทยร้อยละ 2 และหญิงไทย ร้อยละ 1 อัตราการติดเชื้อในชายไทยจะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า ร้อยละ 1.5 ในแต่ละปีมีคนไทย เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์มากกว่า ร้อยละ 90 ส่วนใหญ่จะเกิดในประชากรกลุ่มอายุ 20 – 44 ปีซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงาน หากไม่มีโครงการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ การระบาดของโรคเอดส์อาจจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้รับการป้องกันเป็นสาเหตุหลักของการระบาดในไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 เป็นต้นมา ความสำเร็จจากการรณรงค์การใช้ถุงยางอนามัยในสถานบริการทางเพศ ส่งผลให้การแพร่ระบาดด้วยวิธีการอื่นมีความสำคัญเพิ่มขึ้น การคาดประมาณใน พ.ศ. 2543 แสดงว่า 1 ใน 5 ของการติดเชื้อรายใหม่เกิดขึ้นจากการใช้เข็มร่วมกันในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด ในขณะที่ครึ่งหนึ่งเกิดจากการติดต่อระหว่างคู่สามีและภรรยา เหลือเพียงร้อยละ 16 ที่เป็นผลจากการใช้บริการทางเพศ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการขยายขอบเขตของการป้องกัน ไปสู่วิธีการแพร่เชื้อที่สำคัญอื่น ๆ พร้อมกับความต่อเนื่องในการลดการติดเชื้อให้อยู่ในระดับ จากการป้องกันในกลุ่มเพศพาณิชย์ผู้ป่วยเอดส์ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์สูงถึงร้อยละ 84.15 เป็นเพศชายรักต่างเพศ ร้อยละ 56.63 และเป็นหญิงรักต่างเพศร้อยละ27.52 รองลงมาเป็นผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดร้อยละ 4.47 กลุ่มที่ ติดเชื้อจากมารดา พบร้อยละ 3.73 กลุ่มรับเลือดร้อยละ 0.03 กลุ่มที่ไม่ทราบปัจจัยเสี่ยง และอื่นๆ ร้อยละ 7.62 ตามลำดับ

ปัจจุบันโรคนี้ยังคงเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เมื่อเริ่มมีการติดเชื้อเอชไอวี แม้ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการแสดงของเจ็บป่วยให้เห็นทันที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะสุขภาพร่างกาย ความสมบูรณ์แข็งแรง ภูมิต้านทานของแต่ละบุคคลที่มีแตกต่างกัน ระยะเวลาของการติดเชื้อ หากผู้ติดเชื้อไม่ได้รับการแนะนำเรื่องป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและการดูแลรักษาไม่ถูกต้องต่อเนื่อง ก็มีผลต่ออาการเจ็บป่วยที่รุนแรงขึ้นได้และเมื่อติดเชื้อแล้ว นอกจากจะมีผลกระทบทางกาย จิตใจ การงานและสังคมของผู้ป่วยแล้ว ยังสูญเสียทางเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศชาติ ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคจึงเป็น

วิธีการที่ดีที่สุด และกรณีที่ป่วยแล้วต้องดูแลตนเองได้เหมาะสม ควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคเอดส์สู่บุคคลอื่น

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลบางด้วน ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคเอดส์ซึ่งก่อให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยและส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจของประเทศ จึงได้ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน จัดโครงการเพื่อเผยแพร่ความรู้ เรื่องโรคเอดส์และการป้องกันโรคการแพร่กระจายเชื้อให้แก่ประชากรกลุ่มวัยทำงานได้มีความรู้ มีเจตคติค่านิยมทางเพศที่ถูกต้องดีงาม มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัย มี พฤติกรรมทางเพศมีเหมาะสมและลดละเลิกพฤติกรรมเสี่ยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านป้องกันเอดส์ 2. แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเอดส์การป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อเอดส์ 3. เพื่อสร้างความตระหนักรู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงหรือลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเอดส์และมีพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้อง กลุ่มเป้าหมาย 1. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 10 คน 2. แกนนำประจำครอบครัว จำนวน 20 คน 3. แกนนำนักเรียน จำนวน 10 คน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และภาคีเครือข่าย ผู้เกี่ยวข้องฯ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ

  2. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์แก่แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน

  3. วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยง ในกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย สาวประเภทสอง พนักงานบริการหญิง และผู้ใช้สารเสพติดด้วยวิธีฉีด

  4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการป้องกันเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  5. เดินรณรงค์ต้านภัยเอดส์ เนื่องในวันเอดส์โลกในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

  6. จัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น จัดให้มีตู้ถุงยางอนามัยในพื้นที่อย่างพอเพียง จัดพื้นที่สร้างสรรค์ เช่น ลานกีฬา

  7. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำด้านป้องกันเอดส์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคเอดส์การป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อเอดส์

  2. วัยทำงานรู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงหรือลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเอดส์และมีพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2560 14:08 น.