กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน PLUS สู้ 2,500 วัน เด็กไทยพัฒนาการสมวัย เก่ง ดี มีสุข ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 67-L5290-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครฯ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 1 เมษายน 2567
งบประมาณ 42,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรอุมา ยายาหมัน
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุภานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.787,99.865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2566 31 มี.ค. 2567 42,900.00
รวมงบประมาณ 42,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 430 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงาน มหัศจรรย์ ๑,๐๐๐วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ ๑,๐๐๐ วัน Plus (พลัส)สู่๒,๕๐๐ วัน” ตำบลสาครได้ที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – ๕ ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๐ คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ

    ทั้งนี้ในช่วง ๑,๐๐๐ วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น ๓ ช่วงที่ (๑) ๒๗๐ วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่ (๒) ๑๘๐ วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี  ช่วงที่ (๓) ๕๕๐ วัน อายุ ๖ เดือน - ๒ ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด      มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ในที่สุด มีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข มีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์(ANC) คุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ดูแลการคลอด ปลอดภัยทั้งแม่และทารก พัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพดีเด็ก(WCC) คุณภาพ ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ ๑๔ ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า ๒,๕๐๐กรัม ไม่เกินร้อยละ ๗ เด็กอายุ ๐-๕ ปีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วนตามวัย ร้อยละ ๖๖ เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ ๑๐ เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ ๕ เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ ๙ และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ ๘๕ เด็กอายุ ๓ ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ )เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพ เก่งดี มีสุข

    จากการติดตามภาวะโภชนาการเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคร หญิงตั้งครรภ์รับบริการฝากครรภ์ปีงบประมา ๒๕๖๖ ทั้งหมด ๔๓ คน มีภาวะโลหิตจาง ๔ ราย ร้อยละ ๓๗.๒๐ ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ๒ รายร้อยละ ๔.๖๕ ในเด็ก ๐–๕ ปี ไตรมาส ๔ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ผลเด็กเตี้ย ๑๐ คนร้อยละ ๕.๘ค่อนข้างผอม ๑ คนร้อยละ ๐.๕๘ และเด็กเริ่มอ้วนและอ้วน ๒๔ คนร้อยละ ๑๔.๖๗ มีพัฒนาการสมวัย ปี ๒๕๖๖ ๑๔๕ คน ร้อยละ ๙๗.๓๓ ข้อมูลจาก HDC ปี๒๕๖๖  ตำบลมีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพและคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทย เติบโต เต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่๑. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมสุขภาพเด็กให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจในช่วงอายุ ๑๐๐๐วัน - ๒๕๐๐วันแรกของชีวิต จำนวน ...๔๐..คน

๑.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางน้อยกว่าร้อยละ ๑๐

๒.ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัว น้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ร้อยละ ๗

๓.หญิงตั้งครรภ์หลังคลอด / ทารกหลังคลอด ตามเกณฑ์ ๓ ครั้ง  ร้อยละ ๑๐๐

2 ข้อที่๒. อบรม แกนนำประชาชน เพื่อทำความเข้าใจในการประชาสัมพันธ์หญิงตั้งครรภ์ในหมู่บ้านฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ฝากครรภ์อย่างต่อเนื่อง และเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ พัฒนาการของเด็กตามขบวนการ และ การได้รับวัคซีน การได้รับยาเสริมธาตุเหล็กในเด็กตั้งแต่ช่วง อายุ ๖ เดือน - ๕ ปี เหล็กในเด็กตั้งแต่ช่วงอายุ ๖เดือน - ๕ปี จำนวน ๔๐ คน

๑. แกนนำประชาชนมีความรู้ และทักษะในการคัดกรองสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ ความรู้เรื่องภาวะโลหิตจาง ความรู้เรื่อการส่งเสริมพัฒนาการ ร้อยละ ๑๐๐

๒.หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนตลอดการตั้งครรภ์ ร้อยละ ๑๐๐

3 ข้อที่๓. เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมสุขภาพเด็กให้ครอบครัว ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลและเอาใจใส่สุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด -๕ ปี

๑.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์
ร้อยละ ๑๐๐ ๒.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์คุณภาพครบ ๕ ครั้ง ตามเกณฑ์ มากกว่า ร้อยละ ๙๐

4 ข้อที่๔. เพื่อบรูณาการงานและสร้างความร่วมมือจากครอบครัว ภาคีเครือข่ายและองค์กรต่างๆในการพัฒนาสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด – ๕ ปี

๑.เด็กปฐมวัยในเด็กช่วงอายุ ๖ เดือน - ๑ ปี และ เด็กก่อนประถมวัย ช่วงอายุ ๓ - ๕ ปี ได้ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือดเพื่อป้องกันโรคภาวะโลหิตจางร้อยละ ๑๐๐

5 ข้อที่๕. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย ภาวะโภชนาการ สุขภาวะโลหิตจาง จำนวน ๒๘๐ คน

๑.เด็กในช่วงอายุ ๖ เดือน – ๕ ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการ สุขภาวะโลหิตจาง  ร้อยละ ๑๐๐

6 ข้อที่๖. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัยจำนวน ๑๕๐ คน

๑.เด็กปฐมวัยช่วงอายุ ๙,๑๘,๓๒,๔๒,๖๐ เดือน ได้รับการตรวจคัดกรองพัฒนาการ  ร้อยละ ๑๐๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ในหมู่บ้านฝากครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ มีความรู้ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ๒. หญิงตั้งครรภ์คลอดอย่างปลอดภัย และลูกเกิดรอด และได้รับติดตามเยี่ยมหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ๓. เด็กปฐมวัย ในเด็กช่วงอายุ ๖ เดือน - ๑ ปี และ เด็กก่อนประถมวัย ช่วงอายุ ๓ - ๕ ปี ได้ตรวจคัดกรองความเข้มข้นเลือดเพื่อป้องกันโรคภาวะโลหิตจาง ๔. เด็กปฐมวัย ในเด็กช่วงอายุ ๙,๑๘,๓๒,๔๒,๖๐ เดือน ต้องได้รับการตรวจพัฒนาการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 15:11 น.