กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการคัดกรองและสร้างเสริมสุขภาพสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่ ๒, ๓, ๔ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๗

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและสร้างเสริมสุขภาพสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่ ๒, ๓, ๔ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีงบประมาณ ๒๕๖๗
รหัสโครงการ 67-l5290-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 1 เมษายน 2567
งบประมาณ 24,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูนีดา หวังดี
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุภานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.787,99.865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2566 31 มี.ค. 2567 24,900.00
รวมงบประมาณ 24,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 131 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ และคาดว่าในปี พ.ศ. ๒๕๘๐ มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นถึง ๒๐ ล้านคนอาจเป็นผลจากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทางด้านเศรษฐกิจสังคม รวมถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข ทำให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆที่เจริญก้าวหน้าช่วยในการรักษาโรคร้ายแรงและโรคอื่น ๆ ประชากรจึงมีอายุมากขึ้นตามไปด้วย ในประเทศไทยประชากรเพศชายมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ ๗๑.๓ ปี ขณะที่เพศหญิงมีอายุขัยเฉลี่ยอยู่ที่ ๗๘.๒ ปี อย่างไรก็ตามการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุมิได้หมายถึงว่า ผู้สูงอายุทุกคนจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง          มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถช่วยเหลือตนเองได้เสมอไป แต่ผู้สูงอายุกลับกลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ต้องได้รับการดูแลมากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงของสุขภาวะทุกด้าน ผู้สูงอายุนอกจากจะมีปัญหาด้านสุขภาพที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังรังต่างๆ ยังพบว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากนับเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญในผู้สูงอายุ จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ ๘ ของประเทศไทย พบว่า ผู้สูงอายุมีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ ๕๒.๖ และเป็นโรคปริทันต์อักเสบที่มีการทำลายของเนื้อเยื่อและกระดูกรองรับรากฟัน ร้อยละ ๓๖.๓ ทำให้ลดประสิทธิภาพการบดเคี้ยว และเป็นสาเหตุของการสูญเสียฟัน ส่งผลตามมาต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ  เช่น  ภาวะโภชนาการบุคลิกภาพ  ความมั่นใจ รวมทั้งส่งผลต่อคุณภาพชีวิต  (วารสารทันตาภิบาล ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๒ กรกฎาคม–ธันวาคม ๒๕๖๓)
ข้อมูลสถิติประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ ๒, ๓, ๔ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล พบว่า ในปี ๒๕๖๔ มีผู้สูงอายุ จำนวน ๕๐๔ คน ได้รับการคัดกรองสุขภาพช่องปากเพียง ๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๙๘ ปี ๒๕๖๕ มีผู้สูงอายุ จำนวน ๕๐๘ คน ได้รับการคัดกรองสุขภาพช่องปากเพียง ๑๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๑๕ และปี ๒๕๖๖ มีผู้สูงอายุ จำนวน ๕๒๔ คน ได้รับการคัดกรองสุขภาพช่องปากเพียง ๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๒๙, HDC สตูล : ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖) ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลสาคร เล็งเห็นความสำคัญของการปัญหาสุขภาพช่องปาก และการเข้าถึงการบริการด้านทันตกรรมในกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองและสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มผู้สูงอายุ หมู่ที่ ๒, ๓, ๔ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปี ๒๕๖๖ ขึ้น เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองตรวจโรคในช่องปาก รู้ปัญหานำไปสู่การส่งเสริมพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก การได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยทันตบุคลากร มีโอกาสในการเข้าถึงการรับบริการฟันเทียมในผู้สูงอายุที่สูญเสียฟันมากขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุได้รับการเข้าถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากโดยทันตบุคลากร

๑. ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุได้รับการเข้าถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากโดยทันตบุคลากร มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ ๒๕ (จำนวน ๑๓๑ คนขึ้นไป จากจำนวนผู้สูงอายุ ๕๒๔ คน)

2 ๒. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ มีความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก

๒. ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ด้านสุขภาพช่องปาก ในระดับดีขึ้นไป มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ ๑๐ จากจำนวนผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปาก         ๒. ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 15:48 น.