กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน ตำบลชะมวง ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-50105-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม. รพ.สต.บ้านหัวถนน
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 เมษายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,960.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอุไร สงนุ้ย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ขับขี่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันอุบัติภัยจากการจราจรก่อให้เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในปีหนึ่งๆ อย่าง มหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจราจรอันเนื่องมาจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และ พิการ อันเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าในการพัฒนาประเทศและจากการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ รถจักรยานยนต์ในประเทศไทย พบว่าสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจร คือ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มีพฤติกรรมการขับ ขี่ที่ไม่ปลอดภัย มีการเสพสารเสพติด มึนเมา ประมาท คึกคะนอง และไม่เคารพกฎจราจร ประกอบกับสภาพของ รถจักรยานยนต์ไม่ปลอดภัย สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว
จากข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย ปี พ.ศ.2566 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จำนวน 13,536 ราย ผู้บาดเจ็บ 874,443 ราย จำนวนผู้ประสบภัยจำแนกตามเพศ พบว่าเพศชายมีอัตราเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 61.92 เพศหญิง ร้อยละ 38.08 จำนวนผู้ประสบภัยจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มอายุที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือช่วงอายุ 36-60 ปี ร้อยละ 26.62,รองลงมาคือช่วงอายุ 1-14 ปี ร้อยละ23.53 อันดับ 3 คือช่วงอายุ 25-35 ปี ร้อยละ 18.09 อันดับ 4 คือช่วงอายุ 19-24 ปี ร้อยละ 13.27 อันดับ 5 คือช่วงอายุ 15-18 ปี ร้อยละ 10.14 และกลุ่มสุดท้ายคือช่วงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 8.35 และจำนวนผู้ประสบภัยจำแนกประเภทรถ พบผู้ประสบภัยจากรถจักรยานยนต์ ร้อยละ 54.82 รถยนต์ร้อยละ 45.18

สำหรับจังหวัดพัทลุง พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร ในปี 2566 มีจำนวน 14 ราย ผู้บาดเจ็บ 4,632 ราย จำนวนผู้ประสบภัยจำแนกตามเพศ พบว่าเพศชายมีอัตราเกิดอุบัติเหตุ ร้อยละ 58.82 เพศหญิง ร้อยละ 47.18 จำนวนผู้ประสบภัยจำแนกตามกลุ่มอายุ พบว่ากลุ่มอายุที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด คือช่วงอายุ 36-60 ปี ร้อยละ 28.53,รองลงมาคือช่วงอายุ 1-14 ปี ร้อยละ27.73 อันดับ 3 คือช่วงอายุ 25-35 ปี ร้อยละ 14.05 อันดับ 4 คือช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 10.76 อันดับ 5 คือช่วงอายุ 15-18 ปี ร้อยละ 10.37 และกลุ่มสุดท้ายคือช่วงอายุ 19-24 ปี ร้อยละ 8.55 และ จำนวนผู้ประสบภัยจำแนกประเภทรถ พบผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ร้อยละ 59.37 รถจักรยานยนต์ร้อยละ 40.68 ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านหัวถนนได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน ต.ชะมวง ปีงบประมาณ 2567 เพื่อสร้างความรู้ความตระหนักและปลูกจิตสำนึก ลดพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน ให้กับประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 1,2,4,5,6,9,10,11 และ 13 ตำบลชะมวง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องขับขี่ปลอดภัย

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องขับขี่ปลอดภัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 80

60.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถให้บริการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ

ผู้เข้าร่วมโครงการให้บริการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

60.00 80.00
3 เพื่อรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยโดยการสวมหมวกนิรภัยบนถนน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย มีการสวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 100

60.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,960.00 0 0.00
11 เม.ย. 67 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 9,960.00 -
12 เม.ย. 67 รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยบนถนนพื้นที่ตำบลชะมวง 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการฯมีความรู้เรื่องขับขี่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 2..ผู้ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการฯสามารถสาธิตวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพและการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 3.ผู้ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ สวมหมวกนิรภัยเมื่อขัยขี่รถจักยายนต์ ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 16:05 น.