กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการทองสม ยิ้มสวย ฟันสะอาด ในเขตรพ.สต.บ้านเกาะทองสม ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3312-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะทองสม
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ธันวาคม 2566 - 20 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 15,051.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวจารีย์ ศรีเกตุ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.บ้านเกาะทองสม
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 126 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
65.00
2 จำนวนฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
42.86

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศที่พบมายาวนานจนถึงปัจจุบัน แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในวัยเรียน ก็ยังพบอัตราการเกิดโรคสูงโดยเฉพาะในวัยเรียนซึ่งเป็นวัยของการวางรากฐานที่สำคัญของชีวิตทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย จิตใจ และการพัฒนาด้านต่าง ๆ เด็กวัย 10-12 ปี เป็นกลุ่มที่ฟันแท้เริ่มทยอยขึ้น และเมื่ออายุครบ 12 ปี มีฟันแท้ครบ 28 ซี่ ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ย่างเข้าสู่วัยรุ่น การเกิดโรคเหงือกอักเสบและฟันผุในวัยนี้ จะใช้เป็นเครื่องทำนายการเกิดโรคในวัยผู้ใหญ่ต่อไป (นฤมล ดีกัลลา และคนอื่น ๆ , 2558) จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่า เด็กอายุ 12 ปี มีประสบการณ์เกิดโรคฟันผุในระดับประเทศและภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 52.0 และ 44.0 ตามลำดับ มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดของฟันแท้ (DMFT) ในเด็กอายุ 12 ปี ในระดับประเทศและภาคใต้ เท่ากับ 1.4 และ 1.1 ซี่ต่อคนตามลำดับ มีสภาวะเหงือกอักเสบ ร้อยละ 66.3 ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ คือ พฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ ได้แก่ ไม่แปรงฟันหลังอาหารกลางวัน บริโภคน้ำอัดลม1-3 วันต่อสัปดาห์ และบริโภคขนมกรุบกรอบทุกวัน คิดเป็นร้อยละ 55.3 , 57.4 และ 32.6 ตามลำดับ (สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, 2560) ประกอบกับผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 6 - 12 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะทองสม พบว่า ผลการสำรวจทันตสุขภาพ ปีการศึกษา 2566 พบว่า ทั้ง 2 โรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะทองสม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 จำนวนทั้งหมด 354 คน มีความชุกของโรคฟันผุในฟันแท้ คิดเป็นร้อยละ 20.00 , 38.10 , 65.00 , 42.86 , 16.10 และ 5.56 ตามลำดับ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะทองสม, 2566) ซึ่งพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสบการณ์การเกิดโรคฟันผุในฟันแท้สูงกว่าระดับประเทศ และอัตราการเกิดฟันผุในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีอัตราการเกิดโรคฟันผุเพิ่มสูงที่สุด รองลงมาคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการลงโรงเรียน พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 6 จะได้รับการดูแลรักษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข(บริการทางทันตกรรม) อย่างไรก็ตามยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ในการดูแลทันตสุขภาพ โดยเฉพาะพฤติกรรรมการทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟันของนักเรียนโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะทองสม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะทองสม ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการจัดทำโครงการทองสม โครงการทองสม ยิ้มสวย ฟันสะอาด ปีงบประมาณ 2567 ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพ และป้องกันโรคในช่องปากในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 ซึ่งการส่งเสริมป้องกันก่อนการเกิดโรคจะประสบผลสำเร็จมากกว่าการไปรักษาในระยะที่เป็นโรคฟันผุ และเห็นถึงความสำคัญของอัตราการเพิ่มความชุกของโรคฟันผุมากที่สุดในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 โดยโครงการจัดขึ้นเพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทันตสุขภาพให้เหมาะสมมีความสอดคล้องกับวิถีชุมชน บริบททางสังคม และวัฒนธรรม ลดอัตราการเพิ่มความชุกของโรคฟันผุในเด็กวัยเรียน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 หลังได้รับความรู้มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น
0.00
2 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

2.ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 หลังได้รับความรู้มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 มีคราบจุลินทรีย์ลดลง

3.ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 มีระดับค่า Plaque Index ลดลงอยู่ในระดับดีขึ้นไป

0.00
4 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 4 แปรงฟันได้อย่างถูกวิธี

4.ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 สามารถตรวจการแปรงฟันได้อย่างถูกวิธีผ่านเกณฑ์ทุกข้อ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,051.00 0 0.00
12 - 14 มิ.ย. 67 การดำเนินโครงการครั้งที่ 1 (แยกจัดตามโรงเรียน) 0 15,051.00 -
24 ก.ค. 67 การดำเนินโครงการครั้งที่ 2 (แยกจัดตามโรงเรียน) 0 0.00 -
25 ก.ค. 67 - 16 ส.ค. 67 การดำเนินโครงการครั้งที่ 3 บริการทันตกรรม ทันเวลา 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีอัตราการเกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบลดลง
  2. โรงเรียนจะได้รับการกระตุ้น ส่งเสริม และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน ทำให้มีแนวทางการพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคตามวิถีของชุมชน
  3. นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
  4. นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2566 11:03 น.