กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประเมินภาวะสุขภาพและคัดกรองภาวะสมองเสื่อมและซึมเศร้าในผู้สูงอายุโดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
รหัสโครงการ 60-L5275-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2559 - 30 ธันวาคม 2559
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ธาดา ทัศนกุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จากผลการสำรวจดครงสร้างประชากรไทยโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้น อายุเฉลี่ยชายอยู่ที่ ๖๘ ปี หญิง ๗๕ ปี เพิ่มจากร้อยละ ๙.๔๓ ในปี ๒๕๔๓ เป็นร้อยละ ๑๑.๘ ในปี ๒๕๕๓ และคาดว่าในปี ๒๕๖๘ ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น ๑๔.๕ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๑ ของประชากรทั้งหมด ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อความเจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรังที่เกิดจากความเสื่อม

มีการศึกษาเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า (Depression)ของผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่ามีความชุกแตกต่างกันขึ้นกับเครื่องมือที่ใช้พื้นที่ในการสำรวจ สำหรับความชุกของภาวะสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุไทยมีประมาณร้อยละ ๒-๑๐ โรคซึมเศร้าและโรคสมองเสื่อมนี้เป็นปัญหาสุขภาพที่เริ่มก่อตัวเพิ่มขึ้นอย่างเงียบๆ เป็นภาวะที่สมองมีระดับในการจัดการวางแผนดำเนินกิจกรรมต่างๆลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ คิดสิ่งต่างๆ ไม่ออก แยกของต่างๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันไม่ได้ จำทางไม่ได้ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง วิตกกังวล ซึมเศร้า ซึ่งจะทำให้เกิดความบกพร่องในการประกอบกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งกิจวัตรประจำวัน ส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลและสังคมอย่างมาก หากผู้ใกล้ชิดไม่มีความรู้พื้นฐานด้านนี้ ก็มักจะมองข้ามแม้มีอาการแสดงขึ้นมาบ้างแล้วก็ตาม ด้วยความเข้าใจผิดไปว่าเป็นอาการปกติทั่วไปของความชราภาพกลายเป็นการละเลยจนทำให้อาการของโรคพัฒนามากขึ้นจนยากที่จะแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติได้

ด้วยสถานภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุดจึงย่อมเป็นผู้ที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมีบทบาทในการคัดกรองค้นหาภาวะซึมเศร้าและสองเสื่อมของผู้สูงอายุในตำบลทุ่งตำเสาซึ่งจากผลสำรวจในปี ๒๕๕๙ นั้น มีทั้งสิ้น ๑,๙๖๗ คน ที่มีโอกาสจะเป็นโรคทั้งสองนี้ได้หลายคน ดังนั้นจึงสมควรที่จะมีการสร้างองค์ความรู้ด้านนี้ให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขได้นำไปใช้ในชุมชน ทำให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพอย่างครอบคลุมยิ่งขึ้นทั่วตำบล นำสู่การดูแลป้องกันและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัยในชุมชนได้อย่างบูรณาการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ

 

2 เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และความชุกของภาวะซึมเศร้าและสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในตำบลทุ่งตำเสา

 

3 เพื่อเป็นการป้องกันหรือการรักษาแต่เนิ่นๆ มิให้ภาวะของโรคซึมเศร้าและสมองเสื่อมในผู้สูงอายุลุกลาม

 

4 กระตุ้นให้ชุมชนตื่นตัว ดูแลสุขภาพซึ่งกันและกันยิ่งขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.ประชาสัมพันธ์เพื่อหากลุ่มเป้าหมายและผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ๒.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการฝึกอบรมเพื่อเป้นวิทยากรให้ความรู้และเป็นแหล่งฝึกภาคปฏิบัติ ๓.เขียนโครงการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองทุ่งตำเสาเพื่อพิจารณาอนุมัติดครงการ ๔.อบรมพัฒนาศักยภาพให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้และเข้าใจถึงปัญหาโรคสมองเสื่อมและโครซึมเศร้าและมีความสามารถในการคัดกรองโครดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง ๕.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน นำองค์ความรู้ไปดำเนินการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในตำบลทุ่งตำเสาโดยใช้เครื่องมือ ดังนี้ ๕.๑ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า ๒Q ๕.๒ แบบคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ๕.๒.๑ แบบคัดกรองภาวการร์รู้คิด AMT (Abbreviated Mental Test) ๕.๒.๓ แบบคัดกรองผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแลระยะยาวประกอบด้วย ๕ ด้าน คือ สังคม , ความสามารถในการมองเห็นและการได้ยิน , ภาวะหลงลืมและภาวะซึมเศร้า , ภาวะเปราะบาง , ความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัน ๖.เมื่อสงสัยหรือพบความผิดปกติของผู้สูงอายุก็จะส่งต่อยัง รพสต.เพื่อเข้าสู่ระบบการประเมินขั้รสูงโดยบุคลากรทางการแพทย์ ดังนี้ ๖.๑ แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าด้วย ๙ คำถาม ( ๙ Q) ๖.๒ แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE-THAI ๒๐๐๒ ๗.แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็น ๓ กลุ่ม ๗.๑ กลุ่มผู้ป่วยเป็นโรค(โรคซึมเศร้าและ / หรือโรคสมองเสื่อม / มีปัญหาด้านสังคม/มีความเปราะบาง/ไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้อย่างปกติ/มีปัญหาการได้ยินและการมองเห็น)ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลระยะยาว ๗.๒ กลุ่มที่ต้องได้รับการเฝ้าระวัง มีการประเมินซ้ำทุก ๖ เดือน ๗.๓ กลุ่มผู้สูงวัยปกติ จะได้รับการ ป้องกันรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพให้คงไว้ซึ่งความมีสุขภาพดีซึ่งเป็นการดูแลดดยองค์รวมในระดับปฐมภูมิ ๘. เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและดูแลแบบครบองค์รวมโดยทีมสหวิชาชีพในพื้นที่ร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ในพื้นที่ ๙. ติดตามผลการดำเนินงาน ๑๐. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้เกี่ยวข้องภาครัฐ เอกชน ชุมชนมีความเข้าใจและมีความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ ๒.ผู้เข้าร่วมดครงการความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดูแลและสามารถคัดกรองภาวะสมองเสื่อมและซึมเศร้าผู้สูงอายุ ๓. เกิดสังคมที่เกื้อกูลกันช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงและด้อยโอกาส ๔. ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียงและผู้ด้อยโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2559 10:27 น.