กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ลำพะยา ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L4140-4-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขานุการกองทุน
วันที่อนุมัติ 2 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 65,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา เป็นองค์กรที่บริหารจัดการเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกในพื้นที่อย่างทั่วถึงและที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้ 1.กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 2.กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 3.กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 4.กลุ่มวัยทำงาน 5.กลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง 6.กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 7.กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง ซึ่งการดำเนินงานกองทุนต้องมีหลักการบริหารงบประมาณอย่างโปร่งใส ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ กองทุนมีกลุ่มบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจให้มาบริหารจัดการ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนประกอบด้วยบุคคล 2 ส่วน คือ มาจากตำแหน่ง และมาจากการคัดเลือกของหมู่บ้าน ซึ่งคณะกรรมการจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแจ้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อทราบ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันที่ออกคำสั่งแต่งตั้ง โดยมีอำนาจหน้าที่ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 16 ว่าด้วยอำนาจอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุน ซึ่งการพิจารณางบประมาณการใช้จ่ายของกองทุนจะใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ โดยตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10(1) ,(2),(3),(4),(5)(6) สำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องกำหนดวงเงินค่าใช้จ่าย ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่งในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับเงินเพิ่มตามข้อ 7 วรรคสอง อาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น

    โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2567 กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลลำพะยา  คาดว่าจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุน สปสช. เป็นเงิน 226,530.-บาท (สองแสนสองหมื่นหกพันห้าร้อยสามสิบบาทถ้วน) โดยคิดจากจำนวนประชากร 5,034 คน x 45 บาท รวมกับเงินสมทบจากองค์การบริหาร  ส่วนตำบลลำพะยา เป็นเงิน 100,000.- บาท ทำให้สามารถตั้งงบประมาณสำหรับการบริหารจัดการกองทุนฯ สปสช. และกองทุนฯ LTC ได้ร้อยละ 20 เป็นเงิน 65,300 .- บาท (หกหมื่นห้าพันสามร้อยบาทถ้วน) ซึ่งกองทุนจะบริหารจัดการค่าใช้จ่ายภายใต้งบประมาณที่กำหนดเพื่อค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนากองทุนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

4.00 4.00
2 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลำพะยา สามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนได้ไม่น้อยกว่า 90 %

15.00 12.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปนสามารถขอรับทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลลำพะยา

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนไโครงการ/กลุ่ม/หน่วยงาน

8.00 6.00
4 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุุน, และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารได้รับการพัฒนาศักยภาพฯโครงการด้านสุขภาพ (คน)

15.00 44.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ LTC(2 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 20,100.00                        
2 จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ สปสช.(2 ต.ค. 2566-30 ก.ย. 2567) 36,680.00                        
3 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กองทุนฯ และเครือข่าย(19 ธ.ค. 2566-19 ธ.ค. 2566) 8,340.00                        
รวม 65,120.00
1 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ LTC กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 20,100.00 0 0.00
2 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดประชุมคณะอนุกรรมการ กองทุนฯ LTC 15 20,100.00 -
2 จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ สปสช. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 22 36,680.00 0 0.00
2 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ สปสช. 22 36,680.00 -
3 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ กองทุนฯ และเครือข่าย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 44 8,340.00 0 0.00
19 ธ.ค. 66 จัดอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ และเครือข่าย 44 8,340.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทำให้กองทุนมีความพร้อมในการดำเนินงานและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุน

2.คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรม คณะทำงาน และเครือข่าย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน การจัดทำแผนงาน และการเขียนโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์

3.การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้

4.การเสนอแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2566 00:00 น.