กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาคีเครือข่ายสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care)
รหัสโครงการ 61-l1483-4-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน
วันที่อนุมัติ 21 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 เมษายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 9,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิธีวดีเก้าเอี้ยน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.35,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี วัยสูงอายุเกิดปัญหาสุขภาพและเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบกับผู้สูงอายุบางส่วนยังขาดความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม รวมทั้งไม่มีอาชีพ ทำให้ขาดรายได้ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพและรักษาโรคมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะเจ็บป่วยมากขึ้น จากการแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุในตำบลบางด้วน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ตามกลุ่มศักยภาพความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง พบว่า จำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน คิดเป็นร้อยละ 3.51 (20 คน) และกลุ่มติดเตียง คิดเป็นร้อยละ 1.40 (8 คน) และมีแนวโน้มสูงขึ้น จากจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 570 คน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางด้วน จึงได้จัดทำรูปแบบการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ด้วยการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีและผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้สูงอายุในตำบลบางด้วนได้รับการดูแลแบบองค์รวมอย่างผสมผสานทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นการดูแลครอบคลุมทุกมิติ ทั้งสังคม สุขภาพ เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อม ส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุตั้งแต่ยังมีสุขภาพดี ไม่ป่วย ให้ยืดระยะเวลาของการมีสุขภาพดีให้ยาวนานที่สุด โดยสนับสนุนให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ พัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ซึ่งเป็นบริการเชิงรุกที่ให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวแบบบูรณาการต่อเนื่อง โดยเจ้าหน้าที่ ชมรมผู้สูงอายุและอาสาสมัครประจำครอบครัว(อสค.)

อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) คือ คนในครอบครัวของแต่ละครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกและผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร อสค. ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ให้มาทำหน้าที่ดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวตนเอง จึงเป็นการส่งเสริมศักยภาพของสถาบันครอบครัว เพื่อให้การส่งเสริม/สนับสนุน การดูแลผู้สูงอายุให้อยู่กับครอบครัวอย่างอบอุ่น มีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขทั้งกายและใจ เป็นการสร้างความเข้มแข็งของกำลังคนด้านสุขภาพเครือข่ายภาคประชาชนให้ ตระหนักว่าสุขภาพเป็นของเรา คือ

รากฐานที่สำคัญของระบบสุขภาพ เนื่องจากการดูแลสุขภาพระดับครอบครัว “คนในแต่ละครอบครัวดีที่สุด เหมาะสมที่สุด ที่จะทำหน้าที่ ในการดูแลสุขภาพคนในครอบครัวของตนเอง”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living :ADL) 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการดูแลสุขภาพที่บ้านที่มีคุณภาพ โดยอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) 3. เพื่อให้เกิดระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยภาคีเครือข่ายสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care)

 

2 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) เพื่อจัดกลุ่มและวางแผนการดูแล

  2. คัดเลือกอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) หมู่บ้านละ 10 คน เพื่อเป็นผู้ดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวตนเองและเป็นแกนนำปฏิบัติตนด้านสุขภาพที่มีพฤติกรรมเป็นแบบอย่างให้ครอบครัว

  3. อบรมให้ความรู้อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้คนในครอบครัวตนเองและช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง

  4. อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ให้การดูแลผู้สูงอายุ เยี่ยมบ้าน ร่วมกับทีมภาคีเครือข่ายสุขภาพ ชมรมผู้สูงอายุ ประสานงานพัฒนาสุขภาพครอบครัว และเป็นเครือข่ายร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) ได้รับการวางแผนการดูแลส่งเสริมสุขภาพ

  1. อาสาสมัครครอบครัว (อสค.) เป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระดับครอบครัวหรือส่งเสริมให้ครอบครัวมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองได้

  2. ผู้สูงอายุได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบโดยภาคีเครือข่ายสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(Long Term Care)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2560 16:00 น.