กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เก็บให้เกลี้ยง กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุ (ยุง)
รหัสโครงการ 67-L2497-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านตะโละมีญอ
วันที่อนุมัติ 29 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 พฤษภาคม 2567 - 10 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 11 มิถุนายน 2567
งบประมาณ 18,325.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูไฮดา สานิตา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หากจะพูดถึงสัตว์ที่เป็นภัยและก่อให้เกิดความรำคาญต่อมนุษย์นั้น คงจะหนีไม่พ้น “ยุง” อย่างแน่นอน ยุงเป็นสัตว์ที่มีอยู่บนโลกเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีมากกว่าสามพันชนิด อีกทั้งยุงตัวเมียยังสามารถวางไข่ได้มากถึง 50-150 ฟองต่อครั้ง และสามารถออกไข่ได้ตลอดชีวิตของมัน จึงไม่แปลกที่เราจะพบเจอยุงได้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และพบเจอได้แทบจะทุกสถานที่เลยทีเดียว สำหรับในประเทศไทย เราจะสามารถพบเจอยุงที่เข้ามากัดกินเลือดของเราเป็นอาหาร และเป็นพาหะนำโรคหลักๆ ได้อยู่สี่สายพันธุ์ ได้แก่ ยุงก้นปล่อง ยุงลาย ยุงรำคาญ และยุงเสือหรือยุงลายเสือ โดยยุงแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างกันดังนี้ 1.ยุงก้นปล่อง คือยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อไข้มาลาเรีย มีลำตัวเป็นสีน้ำตาล ปีกมีเกล็ดสี พบมากในพื้นที่ป่า มักออกหากินตั้งแต่เวลาหลังหกโมงเย็นเป็นต้นไป โดยยุงก้นปล่องแบ่งออกเป็นชนิดที่เป็นพาหะหลัก ได้แก่ ชนิดไดรัส ชนิดมินิมัส ชนิดแมคคูลาตัส และชนิดที่เป็นพาหะรอง ได้แก่ ชนิดซันไดคัส ชนิดอโคไนตัสและชนิดซูโดวิวโมไร 2.ยุงลาย เป็นยุงที่พบได้บ่อยในบ้านเรือนทั่วไป เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก รวมไปถึงไข้ซิกา มีลำตัว ส่วนหัว และส่วนนอกเป็นเกล็ดสีดำสลับขาว ปากมีลักษณะยาว มักออกหากินตอนกลางวัน ชอบวางไข่บนน้ำนิ่ง และตามแหล่งที่มีน้ำขังต่างๆ โดยยุงลายแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ยุงลายบ้าน และยุงลายสวน 3.ยุงรำคาญ เป็นพาหะของโรคไข้สมองอักเสบ และโรคเท้าช้าง มีลำตัวเป็นสีน้ำตาล ปีกใส มักอาศัยและเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำสกปรก หรือแหล่งน้ำที่เน่าเสียต่างๆ ยุงรำคาญจะวางไข่บนผิวน้ำในลักษณะติดกันเป็นแพ และชอบกัดสัตว์ที่อยู่ตามทุ่งนาอย่าง วัว ควาย มากกว่ากัดคน 4.ยุงเสือ หรือยุงลายเสือ เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง มีลักษณะที่แปลกตาและแตกต่างจากยุงชนิดอื่นๆ คือบนลำตัวจะมีลวดลายสีเข้ม ดูสวยงาม บางชนิดมีลวดคล้ายลายเสือ ปีกมีเกล็ดหยาบ มักเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำที่มีวัชพืชน้ำขึ้น เช่น หนอง บึง และวางไข่ใต้ผิวน้ำติดตามวัชพืชน้ำต่างๆ มักออกหากินในเวลากลางคืน กัดและกินทั้งเลือดของคนและสัตว์ แต่ในปัจจุบันโรคที่มียุงเป็นพาหะและมีผู้ป่วยมากคือโรคไข้เลือดออกซึ่งเป็นปัญหาของสาธารณสุขของประเทศไทย มักระบาดในช่วงหน้าฝนโดยมีพาหะของโรคคือยุงลาย ส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กวัยเรียนช่วงอายุ 10 - 14 ปี บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคเกี่ยวกับยุงประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรค และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ดังนั้นโรงเรียนบ้านตะโละมีญอจึงเห็นความสำคัญการป้องกันโรคต่างๆ ปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำโครงการเก็บให้เกลี้ยง กำจัดแหล่งเพาะพันะธุ์ ยุง ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อป้องกันการระบาดของโรคต่างๆจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชน โรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละมีญอห่างไกลจากโรค มีสุขพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 18,325.00 0 0.00
10 พ.ค. 67 อบรมให้ความรู้เกี่ยงกับยุงชนิดต่างๆ และวิธีการกำจัดเพาะพันธุ์ ยุง ชนิดต่างๆ (ปฏิบัติ) 100 18,325.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคต่างๆที่มียุงเป็นพาหะ
-โรคไข้เลือดออก
-โรคเท้าช้าง
-โรคชิคุนกุนยา
-โรคมาลาเรีย
2.นักเรียนรู้วิธีการป้องกันโรค
3.นักเรียนรู้วิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2566 10:55 น.