กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารและพัฒนาจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
รหัสโครงการ 67-L8409-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานเลขาฯกองทุน
วันที่อนุมัติ 30 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 156,897.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจรัญ เส็นหล๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง เป็นการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดกลไกการออกแบบระบบสุขภาพของพื้นที่ตำบลฉลุง โดยให้ประชาชนในพื้นที่ ใช้จ่ายเพื่อขอสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานโครงการหรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติดังต่อไปนี้
(1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุข
(2) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคหรือกลุ่ม (3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน
(4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพ และกรณีมีการดำเนินงานจัดบริการ (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ (๖)เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขตามมติฯ ซึ่งกิจกรรมเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่นๆ ที่กรรมการกองทุนแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง จึงได้จัดทำโครงการบริหารและพัฒนาจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ เพื่อใช้ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง เป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นตอนวางแผนงาน 1. ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม 2. กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ติดต่อประสานงานคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมายการประชุม 2. จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน 3. จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 4. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด 4.1 จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา อย่างน้อย 6 ครั้ง/ปี 4.๒ จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 3 ครั้ง/ปี 4.3 จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง(LTC)   อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี 4.4 สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดซื้อครุภัณฑ์ วัสดุและอุปกรณ์ 1. จัดซื้อครุภัณฑ์ วัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน

/กิจกรรมที กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ 1. จัดอบรมแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แก่คณะกรรมการกองทุนฯที่มีคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง(LTC) และคณะอนุกรรมการ 2. จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่กับกองทุนฯ อื่น ๆ
3. เข้าร่วมการประชุม สัมมนา อบรมการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามประเมินโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง 1. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง โดยคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง 2. นำเสนอผลการติดตามประเมินโครงการให้คณะกรรมการกองทุนฯรับทราบในการประชุมคณะกรรมการฯ กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ๕.๑ ติดต่อประสานงานคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) คณะอนุกรรมการกองทุนฯ เพื่อกำหนดนัดหมายการประชุม ๕.๒ จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนอนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน ๕.๓ จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม ๕.๔ ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด ๕.๕ จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี ๕.๖ จัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี ๕.๗ สรุปผลการประชุมและมติคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC)
กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2566 ๑. จัดประชุมทำแผนสุขภาพตำบล ปี 2567 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง ๒. บันทึกข้อมูลแผนสุขภาพตำบลในระบบออนไลน์

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลผลิต 1. กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง สามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า ๘0 % 2. คณะกรรมการบริหาร คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) และคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ ร้อยละ ๘0

  1. มีกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง ผลลัพธ์ ทำให้คุณภาพการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลฉลุง เป็นไปตามแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2566 11:23 น.