กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
รหัสโครงการ 67-L2529-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร
วันที่อนุมัติ 26 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 147,036.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ร้อยตรีมาหะมะนาซูดิง สะนิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.152,101.492place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ้งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน     สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบทบัญญัติของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 (3) มาตรา 18 (4) (8) (9) และมาตรา 47 ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสนับสนุน ประสาน และกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนรวมถึงการสนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรดำเนินงาน และบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่       ดังนั้นการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ในรูปแบบกองทุนสุขภาพท้องถิ่นโดยมีคณะกรรมการที่ประกอบด้วยตัวแทนภาคประชาชน บุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและท้องถิ่นสมทบอีกส่วนหนึ่ง จึงเป็นวิธีการอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมที่จะเสริมสร้างสุขภาพของคนให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงในด้านทางกายใจ สังคม และปัญญา เพราะฉะนั้น เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนฯ มีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลศรีสาคร จึงได้จัดทำโครงการเพื่อการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑.เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

๑.มีการประชุมคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาติดตามงาน
  อย่างน้อย ๔ ครั้ง/ปี
๒. โครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ๓. โครงการที่พิจารณาอนุมัติเป็นไปตามระเบียบกองทุนฯ

2 ข้อที่ 2. เพื่อบริหารจัดการกองทุนฯให้เกิดประสิทธิภาพ

๑. จัดซื้อจัดหาวัสดุเพียงพอต่อการดำเนินงานบริหารกองทุน ๒. อบรมให้ความรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ๑. ขั้นตอนการวางแผน - ร่วมกันประชุมวางแผน แนวทางการดำเนินงาน กำหนดร่างวาระการประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน
- กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ ๒. ขั้นตอนการเตรียมการดำเนินงาน - ส่งหนังสือเชิญประชุม - เบิกเงินค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม - ประชุมตามวันเวลาที่กำหนด
๓. ขั้นตอนดำเนินงาน - จัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด - จัดประชุมคณะกรรมการ และที่ปรึกษา อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน/คณะอนุกรรมการ( Long Term Care : LTC ) อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี
- ส่งเงินคืนกรณีที่ผู้ที่มีผู้ขาดการประชุม - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการกองทุน/คณะอนุกรรมการ LTC /คณะทำงาน จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงาน การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดสถานที่และวันเวลา - ติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- เดินทางไปศึกษาดูงาน 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้รับงบประมาณ เพื่อกำหนดนัดหมาย - ประสานงานวิทยากร
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน สถานที่ในการประชุม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- จัดอบรมให้ความรู้คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และผู้รับงบประมาณ
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ กิจกรรมการบริหารจัดการในสำนักงานกองทุนฯ(จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์) 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดรายการวัสดุ และครุภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ - กำหนดคุณสมบัติของวัสดุ และครุภัณฑ์ที่จะดำเนินการจัดหา - ดำเนินการสืบราคาวัสดุ และครุภัณฑ์ตามรายการ เบื้องต้น
2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - จัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน ตามระเบียบของหน่วยงานโดยอนุโลม
4. จัดทำบัญชีวัสดุและลงทะเบียนครุภัณฑ์เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้ในกิจการของกองทุนฯ
สรุปผลกิจกรรม /รายงานกิจกรรม/โครงการ การเงิน การบัญชี ต่อคณะกรรมการกองทุนฯและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๒

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  2. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
  3. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2566 14:33 น.