กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนรวมใจสร้างเด็กไทยปัญญาเลิศด้วยไอโอดีน
รหัสโครงการ 60-L3048-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ราตาปันยัง
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,470.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮาสนะสะแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลราตาปันยัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.822,101.353place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2559 30 มิ.ย. 2560 7,110.00
รวมงบประมาณ 7,110.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (7,110.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (11,470.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 59 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคขาดสารไอโอดีนเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ การที่ประชาชนขาดสารไอโอดีนจะบั่นทอนคุณภาพชีวิตโดยรวม ซึ่งมีผลต่อศักยภาพในการพัฒนาประเทศอย่างยิ่ง นอกจากนั้น ผู้ที่ได้รับสารไอโอดีนไม่เพียงพอนอกจากจะมีอาการของโรคคอพอกแล้ว ยังมีผลทำให้ร่างกายและสมองเติบโตด้อยลงรูปร่างเตี้ยแคระแกรน ความฉลาดทางสติปัญญาด้อยกว่าปกติ ถ้าหญิงตั้งครรภ์ขาดสารไอโอดีน ลูกที่คลอดมา มีโอกาสปัญญาอ่อน เป็นใบ้ ช่วยตัวเองไม่ได้หรือที่เรียกว่า“โรคเอ๋อ” ปัจจุบันพบว่าประชาชนไทยในทุกภาคของประเทศไทย ยังประสบปัญหาโรคขาดสารไอโอดีน อีกจำนวนมากและประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลราตาปันยัง อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานีก็เป็นพื้นที่หนึ่ง ที่ประสบปัญหาดังกล่าวด้วย ปัญหาดังกล่าวไม่อาจขจัดให้หมดไปได้ นอกจากทุกภาคส่วนต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันร่วมกัน และประชาชนต้องตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีนให้เพียงพอ และต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลราตาปันยัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในเด็กจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในเด็ก ๒.เพื่อให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในชุมชน ๓. เพื่อให้เด็กวัยก่อนเรียน และนักเรียนได้รับสารไอโอดีนในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
11 ส.ค. 60 จัดอบรมแก่กลุามเป้าหมาย 59 7,110.00 7,110.00
รวม 59 7,110.00 1 7,110.00

ขั้นเตรียมการ ๑.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนแก่กลุ่มเป้าหมาย ๒.ออกประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนในชุมชน
๓.จัดกิจกรรมต่อเนื่องที่ศูนย์พัฒนาเด็กและชุมชน
๓.๑.ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เกลือเสริมไอโอดีน สำหรับปรุงอาหาร ๔.ติดตามประเมินผลโครงการ ๕.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในเด็ก ๒.เด็กก่อนวัยเรียน และเด็กนักเรียนได้รับสารไอโอดีนในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ๓.ประชาชนทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนในชุมชน ๔.อัตราการเกิดโรคคอพอกในเด็กนักเรียนประถมศึกษาไม่เกิน ร้อยละ 0.5

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2559 12:48 น.