กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมและรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในโรงเรียน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5303-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)หมู่ที่ ๖ ตำบลเจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 26 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 2 กันยายน 2567
งบประมาณ 16,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)หมู่ที่ ๖ ตำบลเจ๊ะบิลัง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.พ. 2567 30 ก.ย. 2567 16,200.00
รวมงบประมาณ 16,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เยาวชน คืออนาคตของชาติ ประเทศไทยพบว่ามีเด็กและเยาวชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้นเด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดและสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิดร่วมทำร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด และที่ผ่านมาการปราบปรามหรือเพิ่มโทษไม่ได้ทำให้ปัญหายาเสพติดหมดไป เพราะจากการสำรวจจำนวนผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทยกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นแสดงว่าการปราบปรามอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีนโยบายด้านอื่นมาสนับสนุนด้วยการดึงพลังของทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมกันทำงานแบบบูรณาการก็เป็นอีกวิธีทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนได้เป็นอย่างดี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบรพ.สต.บ้านปาเต๊ะ มีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชจากการใช้ยาเสพติดเพิ่มขึ้น     ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๖ บ้านปาเต๊ะเหนือ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหายาเสพติดและเป็นห่วงเยาวชนจึงได้จัดทำโครงการอบรมและรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดในโรงเรียน ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ เพื่อเป็นการส่งเสริมและช่วยป้องกันยาเสพติดในเด็กนักเรียนซึ่งเป็นเยาวชนของชาติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด ร้อยละ ๙๐

2 มีคณะกรรมการสภานักเรียนดำเนินงานด้านยาเสพติดในโรงเรียน

โรงเรียนมีคณะกรรมการนักเรียนที่เป็นแกนนำนักเรียน จำนวน ๑๐ คน

3 เพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์เรื่องยาเสพติดในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์เรื่องยาเสพติดในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เดือนละ ๑ ครั้ง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 16,200.00 0 0.00
26 ม.ค. 67 จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย 100 16,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด หลังการอบรมร้อยละ ๙๐     ๒.มีคณะกรรมการสภานักเรียนดำเนินงานด้านยาเสพติด โรงเรียนมีแกนนำด้านยาเสพติด ๑๐ ท่าน     ๓..มีการประชาสัมพันธ์และรณรงค์เรื่องยาเสพติดในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เดือนละ ๑ ครั้ง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566 11:13 น.