กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกร และกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ ประจำปีงบประมาณ 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกร และกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3339-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 10,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ตำบลหารเทา เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากร ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนา ทำไร่ ทำสวนผลไม้ และสวนยางพารา เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและวัชพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมรูปแบบการเกษตรทำเพื่อการบริโภคมาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจเกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตจึงจำเป็นต้องมีการใช้สารเคมีในการกระตุ้นการเจริญเติบโตประกอบกับมีการระบาดของศัตรูพืชจึงมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชก็เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพประชาชนที่มีความเสี่ยงในเขตพื้นที่ ม.1, 4 และ 8 ตำบลหารเทา จึงได้จัดทำโครงการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกร และกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยเรือ ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลตนเองได้

ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลตนเองให้ปลอดภัยได้เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ที่มีภาวะสารเคมีตกค้างในเลือด

ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีในเลือด ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด

ผู้เข้าร่วมโครงการ รู้ว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับที่ เสี่ยง และไม่ปลอดภัย ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,350.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 31 ก.ค. 67 อบรมให้ความรู้การป้องกันและวิธีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช/ในชีวิตประจำวัน แก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ 0 5,100.00 -
1 ก.พ. 67 - 31 ก.ค. 67 การตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร/กลุ่มเสี่ยง ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย 0 5,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลตนเองได้
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงจากการใช้เคมีกำจัดศัตรูพืช
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการประกอบอาชีพ การบริโภคอาหาร เกี่ยวกับการใช้เคมีกำจัดศัตรูพืช
  4. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการส่งต่อกรณีที่มีปัญหาสุขภาพจากการใช้เคมีกำจัดศัตรูพืช
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566 00:00 น.