กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ "ชุมชนร่วมใจปราบยุงลาย พาหะร้ายนำไข้เลือดออกประจำปี ๒๕๖๗
รหัสโครงการ 67L82890105
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะ
วันที่อนุมัติ 25 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 232,652.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชารัตน์ รัตน์ธาวัลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำท้องถิ่นที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนซึ่งในปีนี้มีแนวโน้มการระบาดเพิ่มสูงมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ณช่วงเวลาเดี่ยวกันเกือบ ๓ เท่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทยปี ๒๕๖๖ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยสะสมรวม ๑๐๒,๒๘๒ ราย อัตราการป่วย ๑๕๔.๖๗ ต่อแสนประชากร มีรายงานผู้เสียชีวิต ๑๕๔.๖๗ ราย อัตราการตาย ๐.๑๕ ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตายร้อยละ ๐.๑๐ (ข้อมูลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค ๕๐๖ กองระบาดวิทยา) ในพื้นที่เขต ๑๒ พบผู้ป่วย ๑๐,๖๓๐ ราย อัตราการป่วย ๒๑๒.๔๐ ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน ๑๖ ราย (จังหวัดสงขลา ๕ ราย,สตูล ๓ ราย ,ตรัง ๒ ราย,ปัตตานี ๒ ราย,ยะลา ๑ ราย,และพัทลุง ๑ ราย) คิดเป็นอัตราการป่วยตาย ร้อยละ ๐.๑๕ จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดสงขลา ๓๓๘.๗๘ ต่อประชากรแสนคน (๔,๘๔๙ ราย) กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ ๑๐ - ๑๔ ปี คิดเป็นอัตราป่วย ๑,๑๑๗.๓๗ ต่อแสนประชากร รองลงมาคือกลุ่มอายุ ๕ - ๙ ปี (อัตราป่วย ๙๕๘.๖๐) และ กลุ่มอายุ ๑๕-๒๔ ปี (อัตราป่วย ๖๓๗.๔๑ ) ตามลำดับ สถานการณ์โรคไข้เลือดออก รายอำเภอ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา (ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึง ๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ ) อันดับที่ ๑ อำเภอสะเดา จำนวนผู้ป่วย ๗๖๗ รายอัตราการป่วย ๖๑๗.๙๐ ต่อแสนประชากร รองลงมาอำเภอเมืองสงขลา ผุ้ป่วย ๗๓๒ ราย (อัตราการป่วย ๔๕๐.๓๑ ) และ อำเภอหาดใหญ่ ผู้ป่วย ๑,๖๘๕ ราย (อัตรการป่วย ๔๕๐.๓๑ )ตามลำดับ (ข้อมุลจากระบบรายงาน การเฝ้าระวังโรค ๕๐๖ กองระบาดวิทยา ) ในพื้นที่อำเภอสะเดา พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม ๑๗๖ ราย พื้นที่ที่พบผู้ป่วยมากที่สุดได้แก่ ตำบลสะเดา ๑๗๖ ราย รองลงมา ตำบลสำนักแต้วจำนวน ๑๓๓ ราย และตำบลปริก ๑๓๐ ราย ตามลำดับ ส่วนในตำบลพังลาพบผู้ป่วยสะสม ๔๕ ราย โดยในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ พบผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึง ๖ ตุลาคม ๒๕๖๖ จำนวน ๑๖ ราย (ทะเบียนผู้ป่วยไข้เลือดออก รพ.สต.คลองแงะ ) ซี่งในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมาในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก
จากข้อมูลการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก พบว่าระยะหลังมี่รายงานการป่วยและเสียชีวิตมากที่สุดในผู้ใหญ่ จากเดิมที่พบบ่อยในเด็ก ที่สำคัญ รูปแบบอาการไม่เหมือนกับที่เคยพบมา และมีอาการคล้ายกับโรคอื่น ทำให้การวินิจฉัยโรคในระยะแรกค่อนข้างยาก หากไม่ติดตามสังเกตอาการใกล้ชิดจำทำให้การรักษาล่าช้า ส่งผลให้อาจเกิดความรุนแรงและเสียชีวิตได้ ดังนี้ การวินิจฉัยโรคให้ได้เร็วที่สุด ร้วมกับการที่ประชาชนสามารถสังเกตอาการของตนเองและคนในครอบครัวได้ จึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยลดการเกิดความรุนแรงของโรค โดยหากมีไข้สูงเฉียบพลันและสูงลอยมากกว่า ๒ วัน ห้ามซื้อยามากินเอง และควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยทันทีและต้องมีการควบคุมโรคที่ได้มาตรฐานและทันเวลาจึงทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ ในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะเป็นชุมชนเมื่องขนาดใหญ่ มีการเคลื่่อนย้ายของประชากรอยู่ตลอดเวลาและเป็นแหล่งศูนย์การค้าและเศรษฐกิจ มีโรงงานขนาดใหญ่ และตลาดสินค้ามือสองขนาดใหญ่ จึงเป็นศูนย์รวมของประชาชน ทำให้ง่ายต่อการเกิดโรคระบาด แต่เนื่องจากผู้บริหารให้ความสำคัยในการดำเนินกิจกรรมควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องทุกๆปีทำให้อัตราการป่วยในเขตรับผิดชอบของเทศบาตำบลคลองแงะ มีน้อยกว่าพื้นที่ตำบลอื่นๆ แต่เนื่องจากอำเภอสะเดา ยังมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง และทำให้ในพื่้นที่เฝ้าระวังสีแดงทำให้ต้องมีมาตรการควบคุมและป้หองกันโรคไข้เลือดออกเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อการเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก พร้อมทั้งแนะนำให้ใช้มาตรการ ๓ เก็บป้องกัน ๓ โรค คือ เก็บขยะให้เกลี้ยง เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง เก็บน้ำให้มิดชิด โดยการเก็บขยะให้เป็นระบบ ทำให้สิ่งแวดล้อม กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงในโรงเรียน เช่น กิจกรรม BIG CLEANING DAY เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุ่งลาย เพื่อไม่ให้ยุงเกิดและไม่ให้นักเรียนโดนยุงกัดจนป่วยซ้ำเติมสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน" ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื่อไวรัสซิก และหัวใจในการหยุดการระบาดของโรค คือ ควบคุมไม่ให้เกิดผู้ป่วย ๒ Generation และ ควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ภายใน ๒๘ วัน
  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแงะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเร่งรัด การควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย และการส่งเสริมการห้องกันโรคและการระบาดของโรคในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดทำ โครงการ ชุมชนร่วมใจปราบยุงลาย พาหะร้ายนำไข้เลือดออก ประจำปี ๒๕๖๗ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป ได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่มี ยุงลายเป็นพาหะ ในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชิวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคที่นำโดยยุงลายเป็นพาหะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย

๑. มีทะเบียนรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๒. ประชาชนในเขตรับผิดชอบมีความตระหนักและสามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ต่อเนื่องและไม่เกิดผู้ป่วยภายในบ้่าน หรือผู้ป่วยที่ ๒ ในหลังเดี่ยวกัน

2 ๒. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคที่นำโดยยุงลายเป็นพาหะในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะ

๑. จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในหมู่บ้านลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี ๒. หมูบ้าน/ชุมชนสามารถควบคุมไข้เลือดออกได้ (ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ใน ๒๘ วันหรือ ๔ สัปดาห์ นับจากวันที่เริ่มป่วย

3 ๓. เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุและภาชนะเสี่่ยง ในชุมชน โรงเรียน วัด ที่เป็นแหล่งโรค

๑. ค่า CI ในโรงเรียน วัด สำนักสงค์ = ๐

4 ๔. เพื่อควบคุมและป้องกันโรคที่นำโดยยุงลายเป็นพาหะในเขตเทศบาลตำบลคลองแงะได้

๑. สามารถกำจัดยุ่งลายตัวแก่ด้วยวิธีการพ่นละออง ฝอย ได้คลอบคลุม ๑๐๐%
๒. สามารถควบคุมโรคกรณีมีรายงานผู้ป่วย ได้ครบ ๑๐๐% ตามมาตรการ ๓-๓-๑

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 "ชุมชนร่วมใจปราบยุงลาย พาหะร้ายนำไข้เลือดออก ประจำปี ๒๕๖๗(1 พ.ย. 2566-30 ก.ย. 2567) 0.00                      
รวม 0.00
1 "ชุมชนร่วมใจปราบยุงลาย พาหะร้ายนำไข้เลือดออก ประจำปี ๒๕๖๗ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามาถควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายตัวแก่ที่บ้านได้ครอบคลุม ๑๐๐% ๒. สามารถควบคุมแหล่งพันธ์ลูกน้ำยุงลายที่โรงเรียน,วัดและสถานที่ราชการได้ครอบคลุม ๑๐๐% ๓. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคที่นำโดยยุงลายเป็นพาหะจนไม่เป็นปัญหาสาธารณสุข ๔. ปรชาชนในเขตรับผิดชอบมีความตระหนักและสามารถควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายได้ต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2566 14:30 น.