กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 60-L6958-03-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 3 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 พฤศจิกายน 2560 - 23 พฤศจิกายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.608,101.609place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 270 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีอยู่ราว 1 ใน 6 ของประชากรทั้งหมด กล่าวตามนิยามของสหประชาชาติ คือเมื่อประเทศใดประชากร อายุ 60 ปีขึ้นไป เกินร้อยละ 10 หรือ ประชากรอายุ 65 ขึ้นไป เกินร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society)
ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2567 หรืออีก 9 ปีข้างหน้า เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ทั้งในระดับมหภาค ได้แก่ ผลต่อ GDP รายได้ต่อหัวประชากร การออม การลงทุน งบประมาณของรัฐบาลและการคลัง ผลิตภาพแรงงานและการจ้างงาน และในระดับจุลภาคได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์และบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงโครงการประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ ซึ่งขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกายอวัยวะต่าง ๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อย ๆ ในผู้สูงอายุได้แก่ เกิดภาวะกระดูกหักง่าย สายตาไม่ดี หูตึง ฟันไม่ดี เป็นลมบ่อย เรอบ่อย ท้องผูก เบาหวาน หลงลืมบ่อย หัวใจและหลอดเลือด และปัญหาทางอารมณ์ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่พึ่งพาตนเองได้น้อยลง มีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะของการพัฒนาการ ซึ่งมีภาวะที่เสื่อมถอยลง มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม สาเหตุเนื่องจากผู้สูงอายุและครอบครัวให้ความสำคัญในการดูแลรักษาด้านสุขภาพน้อยลง เช่น เรื่องการบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย การไม่ได้อยู่ร่วมกันในครอบครัวก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ขึ้นได้ องค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ ได้ตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลปะลุกาสาเมาะ รวมถึงเข้าใจสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในทุก ๆ ด้านที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลปะลุกาสาเมาะ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุตำบลปะลุกาสาเมาะ รวมถึงกลุ่มชมรมผู้สูงอายุในตำบลปะลุกาสาเมาะ โดยเพิ่มแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเป็นแบบ “สังคมเพื่อคนทุกวัย และผู้สูงอายุยุคใหม่ ห่วงใยใส่ใจสุขภาพ” โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว

  • 2 –

ชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ได้มุ่งเน้นในด้านการส่งเสริมพัฒนาเกี่ยวกับสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจภูมิปัญญาของผู้สูงอายุและครอบครัว และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ การต่อยอด การพัฒนาผู้สูงอายุไปสู่เป้าหมาย ให้เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพทางสังคม ภูมิปัญญาเศรษฐกิจ และสุขภาพ โดยไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1) จัดทำโครงการเพื่อเสนอต่อนายกองค์การบริหารส่วนตำบลปะลุกาสาเมาะ และเสนอของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อพิจารณาอนุมัติ 2) ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ อปท. เอกชน หน่วยงานอื่น ๆ เพื่อเป็นวิทยากรรับเชิญในด้านที่เกี่ยวข้องกับโครงการหรือกิจกรรม ขั้นตอนการวางแผนและจัดเตรียมงานต่าง ๆ
1) จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรม 2) จัดทำหนังสือราชการเพื่อติดต่อประสานงานและอำนวยความสะดวกกับหน่วยงานที่ติดต่อขอความร่วมมือในกรณีที่มีความจำเป็น 3) จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพและบันทึกภาพ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องวิดีโอ เพื่อสำหรับบันทึกภาพประกอบการจัดกิจกรรม 4) จัดเตรียมเอกสารประเมินความพึงพอใจของแต่ละกิจกรรมเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขในกิจกรรมครั้งต่อไป ดำเนินกิจกรรมที่กำหนดไว้ตามวัน และเวลาดังตารางกิจกรรมที่แนบท้ายมาพร้อมโครงการนี้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับการพัฒนาด้านจิตใจ สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ และภูมิปัญญา
    1. ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีทักษะการดูแลสุขภาพร่างกาย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น
    2. ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมระหว่างวัยและจะสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขภายในครอบครัว และสังคม
    3. ผู้สูงอายุและผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างเป็นระบบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2560 11:08 น.