กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กนาทับฟันสวย ยิ้มสดใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L5181-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ
วันที่อนุมัติ 15 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มกราคม 2567 - 31 พฤษภาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2567
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประทีป ปิ่นทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0 - 2 ปีมีปัญหาสุขภาพช่องปาก
38.24
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0 - 2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
53.00
3 ร้อยละผู้ปกครองของเด็กอายุ 0 - 2 ปี ได้รับการฝึกแปรงฟันแบบลงมือปฏิบัติ
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีผลต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของเด็ก หากเด็กเล็กมีฟันผุในระดับที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือมีการติดเชื้อของฟัน จะมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก อาทิ การมีน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าปกติ (Acsและคณะ, 1992, Ayhan, Suskan และ Yidrim, 1996) เพราะในภาวะที่เด็ก มีความเจ็บปวดและอยู่ในระหว่างการติดเชื้อของฟัน เด็กจะรับประทานอาหารได้น้อยลง ในขณะเดียวกันอัตราการเผาผลาญพลังงานโดยรวมในร่างกายเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อ รวมถึงการมีความเจ็บปวดทำให้รบกวนการนอน ส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้มีผลต่อพัฒนาการของเด็กในที่สุด นอกจากนี้ในเด็กที่มีการสูญเสียฟันน้ำนมด้านหน้าบนไปตั้งแต่อายุน้อยๆ จะส่งผลต่อพัฒนาการในการพูดและความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กอีกด้วย (Davies,1998) จากข้อมูลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 ของประเทศไทย ปี 2560 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี เกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 52.9 เด็กอายุ 5 ปี เกิดโรคฟันผุร้อยละ 75.6 จากการสำรวจข้อมูลการตรวจสภาวะช่องปากเด็กอายุ 3 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ ปี 2565 และ ปี 2566 โดยงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 44.44 และ ร้อยละ 38.24 ตามลำดับ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเกินกว่าเกณฑ์ที่ทางกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดไว้ไม่เกิน ร้อยละ 54
จากปัญหาดังกล่าวนับได้ว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดนั้นต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ นั่นคือ การส่งเสริมและป้องกันโรค โดยการเน้นการให้ความรู้เชิงปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาข้างต้น งานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการ“เด็กนาทับฟันสวย ยิ้มสดใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก ปี 2567”ขึ้น เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหาฟันผุของเด็กอายุ 0-2 ปี

ร้อยละของปัญหาสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 0 - 2 ปี ลดลง

38.24 28.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 0 - 2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 100 ของเด็กอายุ 0 - 2 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

53.00 100.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 2 ปี ได้รับการฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี

ร้อยละ 100 ของผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 2 ปี ได้รับการฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี

70.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,000.00 0 0.00
1 - 29 ก.พ. 67 กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง 0 15,000.00 -
1 - 30 มี.ค. 67 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่สุขภาพช่องปากที่ดี 0 2,400.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 พ.ค. 67 สุ่มตรวจติดตามกลุ่มผู้ปกครอง 0 0.00 -
1 - 31 พ.ค. 67 สรุปผลการดำเนินโครงการ 0 600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กอายุ 0 - 2 ปี มีปัญหาสุขภาพช่องปากลดลง 2.ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้ลูก และตนเองได้อย่างถูกวิธี 3. ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. ผู้ปกครองและเด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น 5. ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากดียิ่งขึ้น 6.มีเครือข่ายของผู้ปกครองในการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้ดีขึ้น 7.มีแผนการพัฒนาด้านสุขภาพช่องปากของชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2566 00:00 น.