กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านทุ่งคลองควาย เปลี่ยนขยะเป็นเงิน ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3341-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 31 มกราคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายสมบัติ ช่อคง 2.นางนี เลี่ยนกัตวา 3.นางดารา ทองอินทร์ 4.นายวิเชียร จงรัตน์ 5.นางทัศนีย์ ดำชุม
พี่เลี้ยงโครงการ นายจิตติณัฐซ์ สุวรรณรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันมีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วยบุคคล เชื้อโรค พาหะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าวไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคลต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อยพาหะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะ ไม่มีขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค เนื่องจากขยะมูลฝอยส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด เพื่อลดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและขยะตกค้างจึงต้องมีการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทเพื่อสะดวกในการจัดการ เช่น ขยะย่อยสลายได้สามารถนำไปทำปุ๋ยหมัก ขยะอันตรายสามารถนำเข้าสู่ระบบการทำลายที่ปลอดภัย ขยะที่รีไซเคิลได้สามารถรวบรวมเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ และขยะทั่วไปนำไปทิ้งหรือนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีและตามหลักสุขาภิบาลต่อไป หมู่บ้านทุ่งคลองควาย มี 272 ครัวเรือน มีประชากรจำนวน 898 คน ส่งผลให้ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในด้านต่างๆ ของชุมชนเพิ่มมากขึ้น มีการทิ้งขยะลงข้างถนน และทิ้งไม่เป็นที่ ส่วนใหญ่แต่ละครัวเรือนจะทำการกำจัดขยะด้วยวิธีต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น การเผา หรือการฝังกลบ โดยไม่มีการแยกขยะก่อนที่จะเผา การคัดแยกขยะก่อนทิ้งในครัวเรือน จะช่วยลดปริมาณขยะในครัวเรือนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างตามชุมชน ทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการ รีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการเปลี่ยนขยะเป็นเงินเพื่อให้ชุมชนได้มีการคัดแยก และจัดเก็บขยะมูลฝอยขึ้นเพื่อนำร่องในการบริหารจัดการขยะ สร้างมูลค่าขยะให้เป็นรายได้เสริมแก่ชุมชน ให้ชุมชนรู้จักการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน และป้องกันแหล่งโรคติดต่อที่เกิดจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จากการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,550.00 3 12,550.00
1 ต.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 1.กิจกรรมอบรมในชุมชน โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะวิธีการคัดแยกและกำจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธี 0 12,550.00 12,550.00
1 ต.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 2.กิจกรรมลงสำรวจครัวเรือนในการคัดแยกขยะและกำจัดขยะอย่างถูกวิธี 0 0.00 0.00
1 ต.ค. 66 - 31 ม.ค. 67 3.กิจกรรมการรับซื้อขยะจากชุมชนโดยการหาผู้ค้าของเก่า 15วัน/ครั้ง 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ
  2. ชุมชนรู้วิธีการลดปริมาณขยะ วิธีการคัดแยก การนำกลับมาใช้ใหม่
  3. ปริมาณขยะในชุมชนลดลง
  4. ชุมชนมีรายได้จากการคัดแยกขยะ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2566 00:00 น.