กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลสาคร ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5290-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลสาคร
วันที่อนุมัติ 16 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 พฤศจิกายน 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 152,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮะหรน บุนหา
พี่เลี้ยงโครงการ นายลิขิต อังศุภานิช
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.787,99.865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 พ.ย. 2566 30 ก.ย. 2567 152,800.00
รวมงบประมาณ 152,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 191 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 770 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในทุกๆปีจะมีคนมากกว่า ๑ ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคที่ยุงเป็นพาหะ และมีหลายร้อยล้านคนที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่ยุงเป็นพาหะ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากยุงลาย ในทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๒๐,๐๐๐ ราย โดยเฉพาะระหว่างปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกมากกว่า ๔๘๑,๓๕๓ ราย ในประเทศไทยโรคที่มียุงลายและยุงทั่วไปเป็นพาหะ มีดังนี้ ไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัส ซิกา ไข้มาลาเรียหรือไข้จับสั่น ไข้ติดเชื้อสมองอักเสบ โรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา ซึ่งในพื้นที่ตำบลสาคร มีครัวเรือนทั้งหมดจำนวน 2,309 ครัวเรือน จากข้อมูลสถิติการเกิดโรคพื้นที่ตำบลในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ พบว่า มีผู้ป่วยที่เกิดจากโรคยุงลายที่เป็นไข้เลือดออก จำนวน 52 ราย ที่ผ่านมาทีมป้องกันและควบคุมโรคตำบลสาคร ได้ร่วมกันดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อย่างเข้มแข็งแล้วก็ตาม ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องรีบเร่งปลุกจิตสำนึกให้กับประชาชนหรือครัวเรือนในพื้นที่ รวมถึงกลุ่มหรือองค์กรต่างๆ ได้แก่ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน ให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงให้มากขึ้น เพื่อที่จะลดอัตราการป่วยและตายจากโรคดังกล่าวได้ ดังนั้น กลุ่มเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบลสาคร จึงเล็งเห็นถึงอันตรายของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดและความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่เพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย และยุงทั่วไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดทั้งของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน และครัวเรือนทั้งหมดของผู้ป่วยและผู้ส่งสัยป่วยพื้นที่ตำบลสาคร

ร้อยละ 50 สามารถลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดทั้งของโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน และครัวเรือนทั้งหมดของผู้ป่วยและผู้ส่งสัยป่วยพื้นที่ตำบลสาคร

2 เพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด

ร้อยละ 60 สามารถควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปมีประสิทธิภาพ และลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด

3 เพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำวิธีป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลสาคร

ร้อยละ 50 ได้ประชาสัมพันธ์และแนะนำวิธีป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลสาคร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศาสนสถาน และครัวเรือนในพื้นที่ตำบลสาคร ได้รับการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด ๒. การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดได้ ๓. ประชาชนมีความรู้ ในเรื่องการป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิดและตระหนักถึงอันตรายของโรค
๔. ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลายและยุงทั่วไปทุกชนิด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2566 11:04 น.