กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองสารเคมีในเลือดเกษตรกร ในเขตรพ.สต.บ้านป่าบาก ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 2567-L3341-02-
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายเฝ้าระวังการเกิดโรคไม่ติดต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,510.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางนี เลี่ยนกัตวา 2.นางเจริญ คงสม 3.นางอุดมวรรณ ทองอินทร์ 4.นางกัลยา สนธ์น้อย 5.นางดารา ทองอินทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายจิตติณัฐช์ สุวรรณรัตน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น บ้านทุ่งคลองควายหมู่ที่2 มีประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น เนื่องจากรูปแบบการเกษตรเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมรูปแบบการเกษตรทำเพื่อการบริโภคมาเป็นการเกษตรเศรษฐกิจเกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตจึงจำเป็นต้องมีการใช้สารเคมีในการกระตุ้นการเจริญเติบโตประกอบกับมีการระบาดของศัตรูพืชจึงมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชก็เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าบาก จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพที่มีความเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับสารเคมีในเลือดสูง 2567 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวัง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พร้อมให้รับประทานสมุนไพรรางจืดจัดเป็นยารสเย็นใช้ปรุงเป็นยาเขียวลดไข้ ถอนพิษผิดสำแดง และพิษอื่นๆ ใช้แก้ร้อนใน กระหายน้ำ สามารถลดพิษของสารกำจัดศัตรูพืชกลุ่มคาร์บอเนต เช่น เมโทรมิล เป็นต้น เพื่อที่จะได้ลดอัตราการป่วยจากโรคประกอบอาชีพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เกษตรกรที่ใช้สารเคมีได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการบริโภคที่ปลอดภัย

ร้อยละ 100 เกษตรกรที่ใช้สารเคมีได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการบริโภคปลอดภัย

100.00 100.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการป้องกันการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

เกษตรกรหมู่ที่ 2 และ 6 ต.ทุ่งนารี เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการป้องกันการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

80.00 80.00
3 เพื่อจัดทำทะเบียน เกษตรกรที่ใช้สารเคมี

มีทะเบียน เกษตรกรที่ใช้สารเคมี หมู่ที่ 2 และ หมู่ที่ 6

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,510.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ค้นหาเกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลง และตรวจสารเคมีในร่างกายให้แก่เกษตรกร 0 13,510.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ให้เกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคู่กับการใช้รางจืด 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 100 ของเกษตรกร ที่มีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการบริโภคที่ปลอดภัย
  2. ร้อยละ 100 เกษตรกรมีพฤติกรรมและการป้องกันการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2566 00:00 น.