กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารเช้าดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 67-L7252-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา เทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 30 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2567
งบประมาณ 322,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวซูไรญ่า พรรณราย
พี่เลี้ยงโครงการ นายกิตติภัณฑ์ รำจวนจร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 117 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาชาติที่สำคัญ คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดอันเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการพัฒนาคน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะช่วงวัยเรียน เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะสม สมองของเขาก็จะเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้คือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น เด็กวัยเรียนจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตที่มีความต้องการสารอาหารครบทุกหมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาหารเช้าจึงมีความสำคัญมาก จากผลงานวิจัยตีพิมพ์ออกมามากมาย เกี่ยวกับประโยชน์ของการทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็ก ๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำ จะมีสมาธิ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า และจะทำให้เป็นเด็กฉลาดและเก่งขึ้น ดังนั้นอาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับ แต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงานออกไปกรีดยางตั้งแต่ตอนกลางคืน  บางครอบครัวพ่อแม่รับจ้างจึงต้องไปทำงานตั้งแต่เช้า เด็กๆ จึงรับประทานมื้อเช้าเป็นขนม และอาหารที่ไม่มีประโยชน์จากร้านในหมู่บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์และไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้มีเด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย เนื่องจากขาดอาหารสำคัญมื้อแรก จากปัญหาดังกล่าว เทศบาลเมืองสะเดาจึงเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนทุกคน ให้มีคุณภาพทางด้านร่างกายซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีจากข้อมูลของนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 117 คน ทางกองการศึกษาได้ตระหนักถึงปัญหานี้เช่นกัน ดังนั้นกองการศึกษาจึงจัดทำโครงการอาหารเช้าดี ชีวีมีสุข เพื่อให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาสมวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสะเดาที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 86 คน ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่

 

2 2. เพื่อให้เด็กนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสะเดาที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ จำนวน 117 คน และ มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมงาน วางแผน (plan)
    1.1 วิเคราะห์ศึกษาปัญหาภาวะโภชนาการนักเรียน 1.2 เสนอโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติงบประมาณ 1.3 แต่งตั้งคณะทำงานและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    1.4 ประชุมคณะทำงาน
    2.ขั้นดำเนินการ (do) 2.1 เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลภาวะโภชนาการนักเรียน โรงเรียนในสังกัดเทศบาล 2.2 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และแปรผล โดยใช้เกณฑ์ของกรมอนามัย 2.3 จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารอนุมัติ 2.4 เสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา 2.5 จัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียนในสังกัด เพื่อจัดทำอาหารเช้า จำนวน 184 วัน    ในอัตรา 15บาท/คน/วัน

    1. ขั้นตรวจสอบ ทบทวน กำกับติดตาม (check) 3.1 ประเมินผลการดำเนินงานในโครงการ
        - ประเมินน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง
        - ประเมินพัฒนาการของเด็ก
      3.2 ประเมินระดับความพึงพอใจของบุคลากรและนักเรียนต่อโครงการ 3.3 คืนข้อมูลภาวะทุพโภชนาการแก่ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง
    2. ขั้นสรุปผลและรายงานผล (action)
      4.1 สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสะเดาที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 117 คน      ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารร้อยละ 100
    2.นักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองสะเดาที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจำนวน 117 คน มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐานร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2566 11:21 น.