กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมะรือโบตกจูงมือร่วมใจหยุดท้องก่อนวัย
รหัสโครงการ 67-L8302-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลมะรือโบตก
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 31 มกราคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนูรูดดีน สูลัยมาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเยาวชน (อายุ 10-15 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
35.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์” หากเกิดขึ้นกับหญิงที่มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นทางด้านสรีระร่างกายวัยภาวะด้านคุณวุฒิ และวัยวุฒิก็คงเป็นเรื่องน่ายินดี และสร้างความสุขให้กับครอบครัวของหญิงนั้น ๆ แต่ถ้าหากเกิดขึ้นกับผู้ที่ยังเป็น “เด็กหญิง” ซึ่งมีอายุระหว่าง ๙ – ๑๙ ปี ก็มักก่อเกิดปัญหาตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งต่อตัวเด็กเอง และครอบครัวมีข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าสภาวะการตั้งครรภ์และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุต่ำกว่า๑๕ปีบริบูรณ์และหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องวัยทีนคือการตั้งครรภ์เมื่ออายุ ๑๙ ปี หรืออ่อนกว่านี้พบร้อยละ๑๐ – ๓๐ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ใน ๑๐ ปีมานี้เองท้องในวัยทีนในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากร้อยละ ๑๐ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นกว่าร้อยละ ๒๐ ในปัจจุบันนอกจากนั้นอายุของแม่วัยทีนนับวันยิ่งน้อยลงต่ำสุดพบเพียง๑๒ปี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท้องในวัยทีนได้แก่ฐานะยากจนเล่าเรียนน้อย ติดยาเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ยาก แต่มีปัจจัยหนึ่งซึ่งน่าจะแก้ไขได้และเป็นปัจจัยที่ทำให้ท้องในวัยทีนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วคือ ค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นนั่นเอง วัยรุ่นหมายถึงกลุ่มบุคคลที่มีอายุระหว่าง๙-๑๙ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายจิตใจอารมณ์และสติปัญญาโดยมีลักษณะสำคัญ๓ประการ คือมีการพัฒนาทางร่างกายโดยเฉพาะมีการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะเพศ จนมีวุฒิภาวะทางเพศอย่างสมบูรณ์มีพัฒนาการด้านจิตใจซึ่งเป็นระยะที่เปลี่ยนแปลงจากเด็กเป็นผู้ใหญ่และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมโดยเปลี่ยนจากการพึ่งพาครอบครัวมาเป็นผู้ที่สามารถประกอบอาชีพและมีรายได้ของตนเอง หรือมีสิทธิทางกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ เช่นห้ามเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ทำงานเยาวชนที่มีอายุ ๑๘ปีขึ้นไปหากกระทำผิดต้องขึ้นศาลผู้ใหญ่เป็นต้นในด้านพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ พบว่าวัยรุ่นอยากรู้ อยากเห็น และอยากทดลองต้องการการยอมรับจากเพื่อน ดังนั้นวัยรุ่นจึงเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่ายขาดความนับถือตัวเองรวมถึงขาดทักษะในการดำเนินชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยง (riskbehavior) ในด้านต่าง ๆ เช่น การเพศสัมพันธ์โดยไม่ระวังส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ทั้งนี้พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวเป็นสาเหตุการตายในวัยรุ่นโดยเฉพาะเพศหญิง ได้แก่การทำแท้งเถื่อนการคลอดบุตรทั้งที่มีอายุน้อย การติดเชื้อHIVฯลฯ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้สังคมในปัจจุบัน เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นกับวัยรุ่นไทยในอนาคต กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงจัดทำโครงการ โครงการมะรือโบตกจูงมือร่วมใจหยุดท้องก่อนวัย ขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรักและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นให้ลดหรือหมดไปในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด ภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

ร้อยละของเยาวชน (อายุ 10-15 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์  ลดลง

35.00 75.00
2 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยเจริญพันธ์ และหญิงตั้งครรภ์ รับรู้อันตรายของการคลอดก่อนกำหนด

ร้อยละ ๗๐ ของผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในกิจกรรมต่างๆ

35.00 75.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,600.00 0 0.00
1 - 31 ม.ค. 67 กิจกรรมการการอบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยเจริญพันธ์ พร้อมสร้างการรับรู้ถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด 0 14,350.00 -
1 - 31 ม.ค. 67 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ติดภาพโปสเตอร์ ณ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ป้ายและแผ่นพับประชาสัมพันธ์ และสื่อออนไลน์ 0 7,250.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)   1. เสนอโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก   2. ประสานกลุ่มเป้าหมายตัวแทนนักเรียนหญิง (วัยเจริญพันธุ์) ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๑- ๓ โรงเรียนบ้านมะรือโบตก
  ๓. จัดกิจกรรมตามโครงการ ประกอบด้วย     ๓.1 กิจกรรมการการอบรมให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในวัยเจริญพันธ์ พร้อมสร้างการรับรู้ถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด     ๓.๒ รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ติดภาพโปสเตอร์ ณ บอร์ดประชาสัมพันธ์ ป้ายและแผ่นพับประชาสัมพันธ์ และ  สื่อออนไลน์   ๔. ประเมินผลและสรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

หญิงวัยเจริญพันธ์และหญิงตั้งครรภ์ รับรู้ถึงอันตรายของการคลอดก่อนกำหนด และมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวี และโรคจากการมีเพศสัมพันธ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2566 14:03 น.