กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ (กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ) ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L7252-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
วันที่อนุมัติ 31 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 553,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสงขลา พิษฐานพร
พี่เลี้ยงโครงการ นายศิริชัย แซ่ฉาย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีเป้าหมายทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่สำคัญประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การมีอายุยืนยาวและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การที่ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรงในทุกช่วงวัยทำให้มีอายุยืนยาวเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ซึ่งการมีอายุยืนยาวไม่เจ็บป่วยเป็นโรค เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เนื่องจากคุณภาพชีวิตประกอบด้วยสุขภาพในหลายด้านรวมกัน ได้แก่ สุขภาพด้านกายภาพ (physical health) สุขภาพด้านจิตใจ (mental health) สุขภาพด้านสังคม (social health) และภาวะสุขภาพโดยทั่วไป (general health) โดยองค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของ “สุขภาพ” ว่าไม่ใช่แต่เพียงการปราศจากโรค แต่หมายถึงการมีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ซึ่งจะสอดคล้องกับนิยามของคุณภาพชีวิตที่กล่าวว่า “คุณภาพชีวิต เป็นการรับรู้ความพึงพอใจและสถานะของบุคคลในการดำรงชีวิตในสังคม โดยจะสัมพันธ์กับเป้าหมายและความคาดหวังของตนเอง ภายใต้บริบทของวัฒนธรรม ค่านิยม มาตรฐานของสังคม” และสิ่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

โดยทั่วไปแล้วบุคคลที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ 1) สุขภาพทางกาย (Physical Health) คือ มีสภาพร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีการพัฒนาที่เหมาะสมกับวัย สังเกตได้จากการที่บุคคลนั้นมีความสมบูรณ์แข็งแรง ระบบและอวัยวะทุกส่วนทำงานได้ดีมีประสิทธิภาพ ร่างกายมีสมรรถภาพสูง สามารถทำงานได้นานๆ โดยไม่เหนื่อยง่าย การนอนและการพักผ่อนเป็นไปตามปกติ ผิวพรรณ  ผุดผ่อง รูปร่างทรวดทรงสมส่วน เป็นต้น 2) สุขภาพทางจิต (Mental Health) คือ มีสภาพจิตปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้มีสุขภาพจิตดี ย่อมมีผลมาจากสุขภาพกายดีด้วย หรือคำกล่าวที่ว่า “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” 3) สุขภาพทางสังคม (Social Health) คือ การมีสภาพของความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน สามารถเข้ากับบุคคลและชุมชนได้ทุกสถานะอาชีพ ไม่เป็นคนถือตัว ไม่เป็นคนเอารัดเอาเปรียบบุคคลอื่น เป็นที่เคารพรักและเป็นที่นับถือของคนทั่วไป องค์การสหประชาชาติ (United Nations:UN)ได้ให้นิยาม ผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึงประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 60ปีขึ้นไปและได้แบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ7ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ60ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ14 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ 3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ20 ของประชากรทั้งประเทศ แสดงว่าประเทศนั้นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ ในปัจจุบันข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เทศบาลเมืองสะเดามีประชากรทั้งสิ้น 21,500 คน และมีผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 3,501 คน คิดเป็นร้อย 16.28 ของประชากรในเขตเทศบาล จึงทำให้เทศบาลเมืองสะเดาอยู่ในระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้อายุ เทศบาลเมืองสะเดา ในฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 มาตรา 50 ข้อ 7 ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครอง-  ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 ข้อ 10 การสังคมสงเคราะห์ และพัฒนาคุณภาพเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส เทศบาลเมืองสะเดาตระหนักถึงความสำคัญต่อภารกิจดังกล่าวข้างต้น  จึงจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้แก่ สุขภาพด้านกายภาพ (physical health) สุขภาพด้านจิตใจ (mental health) สุขภาพด้านสังคม (social health) และภาวะสุขภาพโดยทั่วไป (general health) และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เพื่อบริหารและส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่หลากหลายตามความต้องการของผู้สูงอายุ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาทักษะด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลย โดยประสานวิทยากรหลากหลายสาขาอาชีพมาถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพัฒนาการทางด้านสุขภาพกายที่เหมาะสมกับวัย

 

2 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตใจที่เหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ ทุกระดับชั้น สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ

 

3 3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะทางสังคม ความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ สุขให้กับตนเองเกิดความรู้สึกตนเองมีคุณค่า มีประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 ระยะก่อนดำเนินการ   - ขออนุมัติโครงการ
  - แต่งตั้งคณะทำงานโครงการ   - ประชุมคณะทำงานเพื่อจัดทำหลักสูตรและขออนุมัติจากผู้มีอำนาจ   - ประชาสัมพันธ์ ไปยังกลุ่มพลังมวลชนในพื้นที่และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง     ผ่านช่องทางการสื่อสาร
  - ประเมินผลการดำเนินโครงการก่อนดำเนินการ 3.2 ระหว่างดำเนินการ   - เปิดโครงการ   - การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การซักประวัติผู้เข้าร่วมโครงการ จากเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข   - การจัดกิจกรรมตามหลักสูตร โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม   - ประเมินผลการดำเนินโครงการระหว่างดำเนินการ 3.3 หลังดำเนินการ   - ประเมินผลการดำเนินโครงการก่อนดำเนินการ   - รายงานผลโครงการฯ ตามระเบียบกองทุน สปสช. 3.4 ติดตามประมาณผล 8.1 ประเมินผลจากการสังเกต 8.2 ใช้แบบสอบถามประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าร่วม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีพัฒนาการทางด้านสุขภาพกายที่เหมาะสมกับวัย
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตใจที่เหมาะสม สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยากาศของสังคมได้ทุกระดับชั้น              สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ
  3. ผู้สูงอายุสุขภาวะทางสังคม ความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2566 15:46 น.