กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยรุ่นวัยใส ไม่เสพ ไม่ท้อง ห่างไกลจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวี ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6961-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 31,380.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัรกีส ยะปา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง

แบบประเมินความรู้เรื่องเพศศึกษา อนามัยเจริญพันธ์ุ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก่อนและหลังอบรม

50.00
2 ร้อยละของนักเรียนเยาวชนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ขาดความรู้ความเข้าใจถึงพิษภัยของยาเสพติด

แบบประเมินความรู้เรื่องประเภทและโทษของยาเสพติด ก่อนและหลังอบรม

50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยรุ่น หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีอายุ 9 - 19 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเรียนเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และพฤติกรรม เป็นช่วงรอยต่อของความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ โดยมีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ มีพัฒนาการทางร่างกาย มีพัฒนาการด้านจิตใจ และมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคม วัยรุ่นเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตนเอง รวมถึงขาดทักษะชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่น การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมในวัยรุ่น โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ หากไม่มีความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาและการป้องกันที่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
จากข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี ปี 2562 พบว่าเยาวชนมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยเพียงร้อยละ 80 และใช้ถุงยางอนามัยอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งกับแฟนและคนรัก ไม่ถึงร้อยละ 40 จากข้อมูลสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พบว่าโรคหนองใน และโรคซิฟิลิสมากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 15 - 24 ปี รองลงมาเป็นช่วงอายุ 25 - 34 ปี จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยเรียน วัยเจริญพันธุ์ ซึ่งเป็นตัวสะท้อนที่แสดงให้เห็นถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี จากข้อมูลกรมควบคุมโรค สถานการณ์เอชไอวีในประเทศไทย ปี 2565 พบว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 9,230 ราย เป็นเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี จำนวน 4,379 ราย พบผู้อยู่ร่วมกับเอชไอวี จำนวน 561,578 ราย เป็นเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี จำนวน 25,643 ราย และพบผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ จำนวน 10,972 ราย เป็นเยาวชนอายุ 15 - 24 ปี จำนวน 237 ราย
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงได้จัดทำโครงการวัยรุ่นวัยใส ไม่เสพ ไม่ท้อง ห่างไกลจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอชไอวีนี้ขึ้น เพื่อเป็นการจัดกิจกรรมผ่านการเรียนรู้ ช่วยให้เยาวชนเกิดความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด และปัญหาที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการติดเชื้อเอชไอวี อันจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงพิษภัยของยาเสพติด

ร้อยละของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเภทและโทษของยาเสพติดมากขึ้น

50.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษา ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการป้องกันการตั้งครรภ์

ร้อยละของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการป้องกันการตั้งครรภ์มากขึ้น

50.00 80.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันโรคที่ถูกวิธี

ร้อยละของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และวิธีป้องกันโรคมากขึ้น

50.00 80.00
4 เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำวัยรุ่นสุขภาพดีในโรงเรียน

เกิดเครือข่ายแกนนำวัยรุ่นสุขภาพดีในโรงเรียน

50.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,380.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด เพศศีกษา อนามัยเจริญพันธุ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 0 31,380.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงพิษภัยของยาเสพติด
  2. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์
  3. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
  4. เกิดเครือข่ายแกนนำวัยรุ่นสุขภาพดีในโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2566 00:00 น.