กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง


“ ควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกรพ.สต.จะโหนง ”

ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายปริญญา ถิระวุฒิ

ชื่อโครงการ ควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกรพ.สต.จะโหนง

ที่อยู่ ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L5178-5-01 เลขที่ข้อตกลง 3/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 13 พฤศจิกายน 2566 ถึง 15 ธันวาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"ควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกรพ.สต.จะโหนง จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกรพ.สต.จะโหนง



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราการได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมแกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชน (2) รณรงค์ลงสำรวจค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ทำลายลูกน้ำยุงลายพ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ (3) รณรงค์การตวบคุมการระบาดรอบ 2 (4) รณรงค์การควบคุมการระบาดรอบ 3 (5) สรุปผลประเด็นปัญหา คืนข้อมูลให้ชุมชน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ในมาตรการควบคุมโดยทั่วไป ใช้สูตรการดำเนินงานแบบ 3-3-1 คือ รับแจ้งข่าวภายใน 3 ชม. สอบสวนโรคภายใน 3 ชม. และดำเนินการจัดการควบคุมยุงตัวแก่ จัดการสิ่งแวดล้อม ภายใน 1 วัน             (2) หากมีการระบาด  ต้องมีการปรับการทำงานให้ต่อเนื่องจากปกติ ที่ทำในวันที่ 0-7-14-21-28 ต่อไปจนโรคสงบ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การระบาดโรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.จะโหนง ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยพบผู้ป่วยในหมู่ที่6 บ้านหัวแหลมจำนวน 3 รายหมู่ที่ 7 บ้านปลายเหมืองจำนวน 5 รายเมื่อสำรวจเชิงลึกในกลุ่มคนที่สัมผัสผู้ป่วยพบว่ามีผู้ที่ต้องติดตามอาการอีก 3 รายมีการกระจายตัวออกเป็น7 ชุมชนความเสี่ยงในอนาคตหากไม่รีบดำเนินการควบคุมโรคอาจก่อใก้มีการระบาดเพิมมากขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดอัตราการได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมแกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชน
  2. รณรงค์ลงสำรวจค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ทำลายลูกน้ำยุงลายพ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่
  3. การตวบคุมการระบาดรอบ 2
  4. รณรงค์
  5. สรุปผลประเด็นปัญหา คืนข้อมูลให้ชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 420
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
จำนวนหลังคาเรือน 83

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกระยะที่ 2ไม่ให้แพร่กระจายไปสู่พื้นที่่อื่นลดผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนมีความปลอดภัยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมแกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชน

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เวลา 15:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  อสม. ผู้นำชุมชน  เตรียมพื้นที่  วางแผนจัดกิจกรรมรณรงค์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีทีมในการทำงานจัดกิจกรรมประกอบด้วย  ทีมประชาสัมพันธ์  ทีมจัดการสิ่งแวดล้อม  และทีมควบคุมโรค 2.มีแผนดำเนินการใน  2  หมู่บ้าน  ดำเนินการทุก 7  วัน  จนกว่าจะควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาด

 

0 0

2. รณรงค์ลงสำรวจค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ทำลายลูกน้ำยุงลายพ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมรณรงค์ใน  2  หมู่บ้าน  หมู่ที่ 6  รณรงค์วันที่ 14 พ.ย.66  และหมู่ที่ 7 วันที่  15  พ.ย. 66  ในแต่ละหมู่บ้านประกอบด้วยทีมควบคุมโรค  ทีมสิงแวดล้อม  และทีมประชาสัมพันธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พบผู้ที่มีอาการเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออกใน หมู่ที่ 6  จำนวน  2  ราย  และ  หมู่ที่ 7  จำนวน  1  ราย หมู่ที่  6  เป้าหมายดำเนินการ  64 หลังคาเรือน    243  คน  มีค่าดัชนี  HI  เท่ากับ 41.24  CI เท่ากับ  34.15
หมู่ที่  7  เป้าหมายดำเนินการ  34 หลังคาเรือน    181  คน  มีค่าดัชนี  HI  เท่ากับ 38.83  CI เท่ากับ  37.38

 

0 0

3. รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมควบคุมโรคครั้งที่2

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลาย ทำลายยุงลายตัวแก่ ค้นหาผู้ป่วยไข้เลือดออกใน 2 หมู่บ้าน หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 วันที่ 21 พ.ย. 66

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พบผู้ที่มีอาการเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออกใน หมู่ที่ 6 จำนวน 1 ราย และ หมู่ที่ 7 จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 6  เป้าหมายดำเนินการ 64 หลังคาเรือน  243 คน มีค่าดัชนี HI เท่ากับ 11.27 CI เท่ากับ 9.34
หมู่ที่ 7  เป้าหมายดำเนินการ 34 หลังคาเรือน  181 คน มีค่าดัชนี HI เท่ากับ 12.47 CI เท่ากับ 11.01


จะเห็นได้ว่าในหมู่บ้านดังกล่าวยังมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค จึงควรทำการรณรงค์ในรอบที่ 3

 

0 0

4. รณรงค์ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมควบคุมโรคครั้งที่3

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลาย  ทำลายยุงลายตัวแก่  ค้นหาผู้ป่วยไข้เลือดออกใน  2  หมู่บ้าน  หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 7 วันที่  28  พ.ย. 66

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ไม่พบผู้ที่มีอาการเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออกใน หมู่ที่ 6 และ หมู่ที่ 7
หมู่ที่ 6  เป้าหมายดำเนินการ 64 หลังคาเรือน  243 คน  มีค่าดัชนี HI เท่ากับ 4.95 CI เท่ากับ 6.16
หมู่ที่ 7 เป้าหมายดำเนินการ 34 หลังคาเรือน  181 คน มีค่าดัชนี HI เท่ากับ 9.18 CI เท่ากับ 6.55

 

0 0

5. สรุปผลประเด็นปัญหา คืนข้อมูลให้ชุมชน

วันที่ 8 ธันวาคม 2566 เวลา 14:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจงผลการดำเนินงาน สรุปปัญหาอุปสรรคในการทำงานให้ทีมผู้นำชุมชน สมาชิกอบต. และ อสม.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปผลการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ม.6 และ ม.7 ตำบลจะโหนง  ระหว่างเดือน พ.ย.  2566 พบว่ามีทั้งสิ้น 9 ราย โดยพบผู้ป่วยในวันที่ 4 จำนวน 1 ราย , วันที่ 8 จำนวน 1 ราย , วันที่ 9 จำนวน 2 ราย , วันที่ 10 จำนวน 1 ราย , วันที่ 11 จำนวน 1 ราย , วันที่ 14 จำนวน 1 ราย , วันที่ 15 จำนวน 1 ราย , วันที่ 28 จำนวน 1 ราย  และดำเนินการพ่นเคมีกำจัดยุง ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม  ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในวันที่ 14 , 21 , 28 พ.ย. 67 จนกระทั่งถึงเดือนปัจจุบันสามารถควบคุมโรคได้อย่างครบถ้วน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดอัตราการได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
ตัวชี้วัด : ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาดลดลงน้อยกว่าร้อยละ 20 ไม่พบการระบาดรอบ 2 ในพื้นที่เสี่ยง
50.00 20.00 0.00

สามารถควบคุมไม่ให้มีการระบาดในพื้นที่เสี่ยง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 503 522
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 0
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 420 424
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
จำนวนหลังคาเรือน 83 98

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราการได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมแกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชน (2) รณรงค์ลงสำรวจค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ทำลายลูกน้ำยุงลายพ่นเคมีกำจัดยุงลายตัวแก่ (3) รณรงค์การตวบคุมการระบาดรอบ 2 (4) รณรงค์การควบคุมการระบาดรอบ 3 (5) สรุปผลประเด็นปัญหา คืนข้อมูลให้ชุมชน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ในมาตรการควบคุมโดยทั่วไป ใช้สูตรการดำเนินงานแบบ 3-3-1 คือ รับแจ้งข่าวภายใน 3 ชม. สอบสวนโรคภายใน 3 ชม. และดำเนินการจัดการควบคุมยุงตัวแก่ จัดการสิ่งแวดล้อม ภายใน 1 วัน             (2) หากมีการระบาด  ต้องมีการปรับการทำงานให้ต่อเนื่องจากปกติ ที่ทำในวันที่ 0-7-14-21-28 ต่อไปจนโรคสงบ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกรพ.สต.จะโหนง จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L5178-5-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายปริญญา ถิระวุฒิ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด