กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 ”
ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา



หัวหน้าโครงการ
นางสาวขนิษฐา แพมิ่ง




ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567

ที่อยู่ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 67-L4141-05-01 เลขที่ข้อตกลง 002/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 7 พฤศจิกายน 2566 ถึง 23 ธันวาคม 2567

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลลำใหม่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 67-L4141-05-01 ระยะเวลาการดำเนินงาน 7 พฤศจิกายน 2566 - 23 ธันวาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 186,150.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ โดยมียุงลายเป็นพาหะที่สร้างความสูญเสียชีวิตค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของ ประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5–14 ปี แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่ และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้น การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ซึ่งในช่วง 1- 2 เดือนที่ผ่านมา ในพื้นที่ตำบลลำใหม่ มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวนหลายราย เพื่อเป็นการควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกในพื้นที่ และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อรับมือสถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นปี 2567
  2. เพื่อควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลลำใหม่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมพ่นยุง
  2. กิจกรรมพ่นยุง
  3. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  4. กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,274
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. การควบคุมโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพส่งผลให้ตำบลลำใหม่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลลำใหม่ ได้รับการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมพ่นยุง

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมพ่นยุง แบ่งเป็น 2 กรณี

  1. กรณีป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยทำการพ่นยุงให้กับโรงเรียน วัด มัสยิด สถานที่ราชการในพื้นที่ตำบลลำใหม่ พร้อมกับกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง ทุกไตรมาส รวมทั้งหมด 40 ครั้ง

  2. กรณีควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ (มีผู้ป่วย) เมื่อได้รับแจ้งมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จาก รพ.สต.ลำใหม่ กองสาธารณสุขฯ ทำการพ่นยุงในบ้านผู้ป่วยและในรัศมี 100 เมตร รอบๆ บ้านผู้ป่วย ตามมาตรการสาธารณสุข จำนวน 4 ครั้ง/เคสผู้ป่วย และมอบโลชั่นกันยุงให้กับบ้านผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก สำหรับในปีงบประมาณ 2567 ตำบลลำใหม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 12 ราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.การพ่นยุงจะช่วยกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก การลดจำนวนยุงจะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากคนสู่คน

2.การพ่นยุงในบริเวณที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จะช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ใกล้เคียงและป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติม

 

0 0

2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

วันที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 13 มิถุนายน 2567 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง “การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก” ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จาก รพ.สต.ลำใหม่ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับผู้เข้าอบรม จำนวน 40 คน มีเนื้อหาการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ลักษณะของโรคไข้เลือดออก อาการของโรค กลุ่มที่เสี่ยงเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ และคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ การป้องกันโรคไข้เลือดออก การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การจัดการสิ่งแวดล้อมทำความสะอาดบริเวณบ้านและพื้นที่โดยรอบ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของยุงลาย การสังเกตและรายงานอาการ ความสำคัญของการไปพบแพทย์อย่างทันท่วงทีเมื่อมีอาการ และการทำงานร่วมกับชุมชนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สนับสนุนให้ชุมชนรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของยุงหรือโรคไข้เลือดออกแก่หน่วยงานสาธารณสุข ทั้งนี้ในการอบรมได้มีการสาธิตทำสมุนไพรไล่ยุง และมอบทราบอะเบทให้กับชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่่ยวกับสาเหตุของโรคไข้เลือดออก การแพร่เชื้อผ่านยุงลาย

2.ผู้เข้าร่วมอบรมมีความตระหนักถึงความรุนแรงของโรค และผลกระทบต่อสุขภาพชุมชน ซึ่งส่งผลให้มีการใส่ใจและเฝ้าระวังมากขึ้น

3.หลังจากได้รับความรู้ ผู้เข้าร่วมอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง การใช้อุปกรณ์ป้องกันยุง การป้องกันน้ำขัง และการดูแลสิ่งแวดล้อม

4.ผู้เข้าร่วมอบรม ได้นำความรู้ไปเผยแพร่ต่อให้กับครอบครัว ชุมชน หรือในที่ทำงาน ทำให้การป้องกันโรคมีความต่อเนื่องและมีผลกระทบกว้างขวางขึ้น

5.ลดอัตราการเกิดโรค การแพร่กระจายของโรคในพื้นที่ลดลง

 

30 0

3. กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 08.00-12.00 น. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่ จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ณ ม.3 บ้านปอเยาะ ต.ลำใหม่ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา โดยมี ครูและเด็กนักเรียนโรงเรียน ในพื้นที่ตำบลลำใหม่ จำนวน 7 แห่ง จำนวน 103 คน ร่วมกันเดินรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก โดยมีการแต่งกายแฟนซีเป็นยุง ซึ่งในระหว่างการเดินรณรงค์จะมีการถือป้ายรณรงค์ แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง แจกทรายอะเบท และประชาสัมพันธ์ด้วยเครื่องเสียงทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.การลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก -เมื่อชุมชนได้รับข้อมูลและตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จะส่งผลให้จำนวนยุงลายลดลง ซึ่งช่วยลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรค -จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกในพื้นที่ที่มีการรณรงค์อาจลดลง

2.การเพิ่มความตระหนักรู้ในชุมชน -ผู้คนในชุมชนจะมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมากขึ้น โดยเฉพาะวิธีการป้องกันตนเองจากยุงลาย -การให้ความรู้เกี่ยวกับอาการของโรคช่วยให้ผู้คนสามารถสังเกตและรีบไปรับการรักษาได้เร็วขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรง

3.การมีส่วนร่วมของชุมชน -การรณรงค์สามารถกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น การทำความสะอาดบริเวณบ้าน กำจัดแหล่งน้ำขัง และการดูแลพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง -ชุมชนอาจรวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออก เช่น การตรวจตราบ้านเรือน และการรณรงค์ร่วมกันในพื้นที่

4.ความร่วมมือจากหน่วยงานท้องถิ่น -หน่วยงานท้องถิ่น เช่น โรงเรียน วัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนการรณรงค์ผ่านการจัดกิจกรรมในระดับท้องถิ่น -การสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้การดำเนินการป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น

5.การปรับปรุงสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม -การรณรงค์ช่วยกระตุ้นให้ชุมชนหันมาสนใจเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคลและการดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้สะอาด เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย -พื้นที่สาธารณะ เช่น บริเวณตลาด วัด โรงเรียน และแหล่งชุมชน จะได้รับการดูแลทำความสะอาดมากขึ้น

6.ลดภาระของระบบสาธารณสุข* -การลดจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจะช่วยลดภาระของโรงพยาบาลและคลินิกในพื้นที่ที่ต้องให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วย -การป้องกันโรคตั้งแต่ต้นยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและป้องกันการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดจากการเจ็บป่วย

7.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาว -การรณรงค์อย่างต่อเนื่องสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาว เช่น การทำความสะอาดบ้านเรือนสม่ำเสมอ การใช้อุปกรณ์ป้องกันยุง และการเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด

การเดินรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นการสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคอย่างยั่งยืน

 

100 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.1 กิจกรรมพ่นยุง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ได้จัดทำกิจกรรมพ่นยุง แยกเป็น 2 กรณี 1. กรณีป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ในปี 2567 ได้ทำการพ่นยุงให้กับโรงเรียน วัด มัสยิด สถานที่ราชการในพื้นที่ตำบลลำใหม่ พร้อมกับกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง รวมทั้งหมด 40 ครั้ง 2. กรณีควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ (มีผู้ป่วย) เมื่อกองสาธารณสุขฯ ได้รับแจ้งจาก รพ.สต.ลำใหม่ ว่ามีผู้ป่วย  โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ กองสาธารณสุขฯ จะทำการพ่นยุง ณ บ้านผู้ป่วยและในรัศมี 100 เมตร รอบๆ บ้านผู้ป่วย      ตามมาตรการสาธารณสุข จำนวน 4 ครั้ง/เคสผู้ป่วย พร้อมกับมอบโลชั่นกันยุงให้กับบ้านผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก สำหรับในปีงบประมาณ 2567 ตำบลลำใหม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 17 ราย

1.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
วันที่ 13 มิถุนายน 2567 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ ได้จัดกิจกรรมอบรม ให้ความรู้เรื่อง “การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก” ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลลำใหม่ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จาก รพ.สต.ลำใหม่ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับผู้เข้าอบรม จำนวน 40 คน โดยมีเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับ โรคไข้เลือดออก ลักษณะของโรคไข้เลือดออก อาการของโรค กลุ่มที่เสี่ยงเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ และคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ การป้องกันโรคไข้เลือดออก การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การจัดการสิ่งแวดล้อมทำความสะอาดบริเวณบ้านและพื้นที่โดยรอบ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของยุงลาย การสังเกตและรายงานอาการ และความสำคัญของการไปพบแพทย์อย่างทันท่วงทีเมื่อมีอาการ การทำงานร่วมกับชุมชนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สนับสนุนให้ชุมชนรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของยุงหรือโรคไข้เลือดออกแก่หน่วยงานสาธารณสุข ทั้งนี้ในการอบรมได้มีการสาธิตทำสมุนไพรไล่ยุง และมอบทราบอะเบทให้กับชุมชน

1.3 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ วันที่ 1 สิงหาคม 2567 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ลำใหม่ ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ณ ม.3 บ้านปอเยาะ ต.ลำใหม่ อ.เมืองยะลา จ.ยะลา โดยมีครูและเด็กนักเรียน โรงเรียนในพื้นที่ตำบลลำใหม่ จำนวน 7 แห่ง จำนวน 103 คน ร่วมกันเดินรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออก ได้มีการแต่งกายแฟนซีเป็นยุง ซึ่งในระหว่างการเดินรณรงค์จะมีการถือป้ายรณรงค์ แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง แจกทรายอะเบท และประชาสัมพันธ์ด้วยเครื่องเสียง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อรับมือสถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นปี 2567
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลลำใหม่
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 6274
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,274
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อรับมือสถานการณ์โรคไข้เลือดออกที่เกิดขึ้นปี 2567 (2) เพื่อควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลลำใหม่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมพ่นยุง (2) กิจกรรมพ่นยุง (3) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (4) กิจกรรมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 67-L4141-05-01

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวขนิษฐา แพมิ่ง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด