กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกะลาเสร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-L1521-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส
วันที่อนุมัติ 20 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 พฤศจิกายน 2566 - 13 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 สิงหาคม 2567
งบประมาณ 27,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี บัวขำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 พ.ย. 2566 13 ส.ค. 2567 27,000.00
รวมงบประมาณ 27,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มของการเกิดโรคสูงขึ้น กลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70-75 เป็นผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 15-24ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่นและการเกิดโรคมักจะระบาดในช่วงฤดูฝน สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย จากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – ๒๑ ตุลาคม 256๖ มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๑๑๙,๔๖๕ ราย อัตราป่วย ๑๘๐.๕๔ ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน ๑๒๒ ราย อัตราตายร้อยละ 0.๑๘
สถานการณ์จังหวัดตรังจากรายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (รง.506) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – ๒๑ ตุลาคม 256๖ มีรายงานผู้ป่วย ไข้เลือดออก จำนวน ๘๘๘ ราย อัตราป่วย ๑๓๙.๑๔ ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน ๒ ราย อัตราตาย ร้อยละ ๐.๓๑ ต่อประชากรแสนคน สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตั้งแต่ปี 255๒-256๖ ของจังหวัดตรัง มีลักษณะแนวโน้มการเกิดโรคเป็นแบบระบาด 2 ปี เว้น 1 ปี อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกรายอำเภอปี 256๖ ในพื้นที่จังหวัดตรัง พบว่า อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ อำเภอวังวิเศษ อัตราป่วย ๓๑๙.๔๗ ต่อประชากรแสนคน รองลงมาคืออำเภอสิเกา อัตราป่วย ๒๑๕.๙๙ ต่อประชากรแสนคน และ อำเภอนาโยง อัตราป่วย ๒๐๑.๗๓ ต่อประชากรแสนคน ในพื้นที่ตำบลกะลาเส มีจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก(D.H.F)ทั้งหมด จำนวน ๒๐ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๒๔๐.๗๐  ต่อประชากรแสนคน แยกเป็น หมู่ที่ ๒ บ้านควนกุน จำนวน ๕ ราย หมู่ที่ ๓ บ้านโตนนอก จำนวน ๔ ราย หมู่ที่ ๔ บ้านพรุเตย จำนวน ๔ ราย หมู่ที่ ๖ บ้านไทรทอง ๑ ราย หมู่ที่ และหมู่ที่ ๗ บ้านโตนใน จำนวน ๖ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต (ที่มา:รายงาน ๕๐๖ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสิเกา ณ วันที่ 1 มกราคม 256๖ ถึง วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ) และพบผู้ป่วยที่มีอาการต้องสงสัยอีกจำนวนมาก มาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการยากที่จะอาศัยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของรัฐเพียงฝ่ายเดียว
ดังนั้นการที่จะให้ได้ผลอย่างเต็มที่จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชนช่วยกันป้องกันโรคดังกล่าวในหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณรงค์ การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน การจัดหาสารกำจัดลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ และสำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก รวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายรวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน โรงเรียน อย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส จึงได้จัดทำโครงการกะลาเสร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕6๗ ขึ้นเพื่อลดการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขอนามัยที่ถูกต้องห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และควบคุมการแพร่ระบาด ในทุกกลุ่มอายุ 2.เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในพื้นที่
  1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และควบคุมการแพร่ระบาด ในทุกกลุ่มอายุ
    2.เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย กำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องในพื้นที่
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 พ.ย. 66 1. เสนอโครงการ 2. ประชุม อสม. เพื่อชี้แจงโครงการ 3.ประสานงานกับกองทุน 4. ดำเนินการจัดหา/จัดซื้อ วัสดุอุปกรณ์ 5. สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย6. กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดย อสม. 7. กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยอสม. 8. ฉีดพ่นสเปรย์กำจัดยุงลายในบ้านเรื 0 27,000.00 -
รวม 0 27,000.00 0 0.00

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกะลาเส จำนวน ๒๗,๐๐๐.๐๐ บาท
(หนึ่งหมื่นสี่พันแปดร้อยสี่สิบบาทถ้วน)  รายละเอียด ดังนี้ ๑.ค่าสารเคมี Temerphos ๑% ขนาดบรรจุ ๕๐๐ ซอง/ถัง   - จำนวน ๗ ถังๆละ 2,8๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๙,๖๐๐ บาท ๒.ค่าสเปรย์กำจัดยุง จำนวน ๗๘ กระป๋องๆละ 7๕ บาท เป็นเงิน  ๕,๘๕๐ บาท ๓.ค่าโลชั่นทากันยุง จำนวน ๓๑๐ ซองๆละ ๕ บาท เป็นเงิน  ๑,๕50 บาท                         รวมทั้งสิ้น ๒๗,๐๐๐.๐๐ บาท (สองหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลงอันส่งผลให้ไม่มีผู้ป่วยหรือผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2566 11:08 น.