กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ HTDM have to do more ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 88,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.บ่อแดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,100.454place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3278 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังยอดนิยมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรถึง ๔ด ล้านคนทั่วโลกคิดเป็นร้อยละ ๗ลของการเสียชีวิตของประชากรโลก(กองโรคไม่ติดต่อ กรมวบคุมโรค กระทรงสาธารณสุข,๒๕๖๕) สอดคล้องกับรายงานประจำปี ๒๕๖๕ ของกองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังประเทศไทย พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานปี๒๕๖.-๒๕๖๔ คิดเป็น ๒๒.๐ ๒๑.๙ ๒๕.๓ ๒๕.๑ และ๒๔.๕ ต่อแสนประชากรตามลำดับ ส่วนอัตราการเสียชีวิตจาก โรคความดันโลหิตสูง ปี๒๕๖๐-๒๕๖๔ คิดเป็น ๑๓.๑ ๑๓.๑ ๑๔.๒ ๓๔.๒ ๑๔.๕ต่อแสนประชากร ตามลำดับ   สถานการณ์การป่วยตายด้วยโรคเบาหวานและความโลหิตสูงในจังหวัดสงขลาก็สอดคล้องกับสถิติของประเทศไทยเช่นกัน อ้างอิงรายงานจากคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพพบว่า อัตราการป่วยตายด้วยโรคความตันโลหิตสูง ปี๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๖ คิดเป็น ๑,๑๘๐ ต่อแสนประขากร และ อัตราการป่วยตายด้วยโรคเบาหวาน คิดเป็น ๑,๒๓๐ ต่อแสนประขากร โดยอำเภอสหิงพระพบเป็นลำดับหนึ่ง   ถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตคนไทย ตั่งแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจส่งผลให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากพฤติกรรมการปฏิบัติ ที่ไม่ถูกต้องทางด้านสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารเกินความจำเป็น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลก่อฮอล์ และการเคลื่อนไหวโดยการไม่ออกกำลังกาย ไม่สามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านอารมณ์ต่อตนเองและครอบครัวและสังคม ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทีเรื่อรังจากโรคคังกสาวฯ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้ต้องสูญเสียค่ใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลค่อนข้างสูงและต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน หากไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจะส่งผลทำให้อัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นในอนาคต   จากการตรวจคัดกรองโรคดังกล่าวฯ ในปี ๒๕๖๖ พบว่า การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานจำนวน ๒,๓๔ คนร้อยละ ๙๙.๔๕ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ร้อยละ ㆍ.๕๙ กลุ่มป่วยต่อโรคเบาหวาน ร้อยละ ๗.๑๔ การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๑,๙๔๕ คน ร้อยละ ๙๖.๓๘ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ๒.๑๐ กลุ่มปวยต่อโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ㆍ.๒๑ (ข้อมูลจาก HDC จังหวัดสงขลา) นอกจจากนี้จากการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน อายุ ๑๕-๓๙ ปี ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จำนวน ๓๐๑ คน ด้านพฤติกรรมสุขภาพ ก่อนการจัดโครงการฯ พบว่า มีพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการบริโภคอาหารได้ถูกต้องในระดับดี ร้อยละ ๘๓.๙๒ มีพฤติกรรมการปฏิบัติตนในการออกกำลังกายได้ถูกต้องเป็นเล็กน้อยในระดับดี ร้อยละ ๗๕.๔๕ มีพฤติกรรมในการจัดการความเครียดได้อย่างถูกต้องสม่ำเสมอในระดับดีมาก ร้อยละ ๙o.๔๖มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ๙๔.๖๔ (กองสุขศึกษา แบบสอบถาม HBHL ปี ๒๕๖๖) เพื่อเพิ่มเกราะป้องกันไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวฯเพิ่มขึ้นแก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพังช้างตาย จึงได้จัดทำโครงการ "HTDM have to domore ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตำบลบ่อแดง อำเภอสพิงพระ จังหวัดสงขลา" เพื่อให้ประชาชนมี พฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนใน ตำบลบ่อแดงที่มีอายุ อายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับ การตรวจคัดกรองโรค ความดันโลหิตและ โรคเบาหวานตาม แนวทาง สปสช. ๒.เพื่อปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ กลุ่ม เสี่ยงสูงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิต สูง 3.เพื่อให้กลุ่มป่วย สามารถควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดและ ควบคุมระดับความดัน โลหิตสูงได้

๑.ประชาชนในตำบลบ่อแดงที่มีอายุm๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตามแนวทาง สปสช. มากกว่าร้อยละ๙๐ ๒.กลุ่มเสี่ยงสูงหรือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๙๐ 3.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี มากว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๔๐ ๔.กลุ่มป่วยโรคความดันดลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๖๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชนเกี่ยวกับการดำเนินการโครงการฯ 2.เตรียมความพร้อมด้านความรู้ ทักษะอาสาสมัครสาธารณสุข ในการคัดกรองฯ 3.ดำเนินการสำรวจกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองฯ 4.สำรวจพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้แบบเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 5.จัดทำโครงการเสนอ เพื่อขออนุมัติดครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนในตำบลบ่อแดงที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามารส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วย ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว 2.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยได้รับความรู้ และมีทักษะในการปรัยเปบียนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ถูกต้อง 3.อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง 4.ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2566 11:24 น.